พระคาถาแนะนำ

"ภูริทัตชาดก" พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญานาค (ทศชาติ) ชาติที่ 6 ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

·  นางนาคมาณวิกากับพรหมทัตกุมาร (พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญานาค ตอนที่ 1) ในอดีตกาล ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ทรงประทานตำแหน่งอุปราชแก่พระราชโอรส ต่อเมื่อพระราชทานไปแล้วกลับทอดพระเนตรเห็นยศและอำนาจของพระราชโอรสนั้น แล้วเกิดความระแวงว่า พระราชโอรสจะพึงยึดแม้ราชสมบัติของตน จึงรับสั่งให้เรียกพระราชโอรสนั้นมาแล้วตรัสว่า “ดูก่อนพ่อ เธอไม่อาจจะอยู่ในที่นี้ เธอจงออกไปจากที่นี้ แล้วไปอยู่ในที่ ที่เธอชอบใจ โดยล่วงไปแห่งเรา เธอจงยึดเอาราชสมบัติอันเป็นของแห่งตระกูล” (หมายถึงให้ไปหาทำเลที่ชอบ ต่อเมื่อตนเองสิ้นแล้วจึงค่อยกลับมาเอาราชสมบัติภายหน้า) พระราชโอรสทรงรับพระดำรัส จึงกราบลาพระราชบิดา แล้วเสด็จออกจากนคร ไปหยุดที่ริมแม่น้ำยมุนา อันเป็นที่ตั้งของแม่น้ำ ทะเล และภูเขา จึงสร้างบรรณศาลา (ที่พัก) ไว้ที่แห่งนั้น มีรากไม้และผลไม้เป็นอาหารอันอุดม ครั้งนั้น นางนาคหม้ายมาณวิกา (นาคสาวที่สามีตาย) ในพิภพนาคฝั่งมหาสมุทร เห็นผู้อื่นมีสามีจึงคิดอิจฉา จิตใจเกิดกิเลสความอยากมีอยากได้ขึ้นมาบ้าง จึงขึ้นมาริมฝั่งแล้วพบรอยเท้าของพระราชโอรส เมื่อเดินตามรอยเท้าไปพบเห็นบ

พระคาถามหาเศรษฐี (ต้นฉบับตามพระคัมภีร์ คาถา ๑๐๘ พิสดาร)

 

พระคาถามหาเศรษฐี


พระคาถามหาเศรษฐีนี้ โบราณท่านให้ภาวนาว่าตามลำดับกัน ทั้ง ๓ บท เพื่อใช้ทำน้ำมนต์ เอายอดสวาท ๓ ยอด, ยอดกาหลง ๓ ยอด, ยอดรัก ๓ ยอด มัดรวมเข้าด้วยกัน ตัดหัวตัดท้ายเสีย เพื่อใช้สำหรับจุ่มน้ำมนต์ประพรม จะพรมสินค้าก็ได้ พรมบุคคลก็ดี จะสมปราถนา ผู้ใดได้ทำอยู่เสมอจะเกิดลาภ ได้เป็นเศรษฐีโดยเร็ววัน 

ตัวพระคาถากล่าวว่า 

@ จัตตาโร สะติปัฏฐานา จัตตะโร อิทธิปาทา สัมมาโว ฯ ว่า ๓ ครั้ง

@ มะณีจินดา ปิยัง ปัญจะทาสัง ยะสังทาสา ทาสี โคมังปะสันติ สะเนหัง มาตาปุตตังวะ โอระสัง สัพเพชะนา สัพเพปุริสา พะหูปุริสา สัพเพอิตถี พะหูอิตถี สารัง เจนัง ภะวันตุ เม ฯ ว่า ๓ ครั้ง 

@ เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา

@ เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุกู กูกุตะกุ ฯ ว่า ๓ ครั้ง 

---------------------------

หมายเหตุ : โบราณคาถา เป็นตำรับตำราที่สืบทอดกันมาจากรุ่นครูบาปัธยายสมัยโบราณกาล คำถามที่ค้างคาใจของผู้อ่านและศึกษาคือ วิชาเหล่านี้มีจริงหรือไม่ นำไปท่องบ่นร้อยรอบพันรอบก็ไม่สำเร็จ ไม่สำฤทธิ์ผลดังปรารถนา สาเหตุเกิดจากอะไร เมื่อทำไม่ได้ ทำไม่สำเร็จ จึงเหมารวมเอาว่า เป็นเพียงความเชื่องมงายของสายพราหมณ์ ไม่ได้พิจารณาให้ถ่องแท้ และถ้วนถี่ในกระบวนการวิชากลคาถาโบราณ ซึ่งตามตำนานของไสยเวทย์นั้น เกิดจากการเล่นแร่แปรธาตุของเหล่านักบวช ฤาษี ชี พราหมณ์ ที่ฝึกจิต ปฏิบัติตน จนได้อภิญญาระดับหนึ่ง เมื่อบัญญัติคาถาขึ้น และถ่ายทอดกันมารุ่นสู่รุ่น จนถึงปัจจุบัน และเรืองรองที่สุดในยุคขอมโบราณ (กัมพูชา, ไทย, ลาว และเวียดนามบางส่วน)


ในการฝึกตนของเหล่านักบวช ฤาษี ชี พราหมณ์ ในยุคโบราณนั้น กล่าวกันว่าเป็นการบำเพ็ญเพียรและฝึกจิตโดยแท้จริง วิชาที่สืบทอดกันมาในปัจจุบันก็ว่าด้วยสมถกรรมฐาน กล่าวคือ มุ่งเน้นการเพ่งกสิณเพื่อให้เกิดฤทธิ์ เพราะฉะนั้น ในบทสวดพระคาถาต่าง ๆ ที่เป็นวิชาทางด้านคุณไสยกระทำการ จะมีสายธาตุกำกับอยู่ เช่น คาถาประสบเนตร ประกอบด้วยธาตุไฟ และธาตุลม (ดวงตา = ไฟ, ดวงใจ = ลม) ฉะนั้นเวลาครูบาอาจารย์ท่านฝึก ต้องกำกับไฟและลม เพื่อให้ส่งผลต่ออภิญญา นอกจากการถือศีลหรือข้อปฏิบัติตามสายวิชาของตนแล้ว ครูบาอาจารย์ท่านจะต้องฝึกจิตด้วยการบำเพ็ญเพียรนานัปการ กว่าจะสำเร็จเป็นวิชาหนึ่งวิชา และสิ่งเหล่านี้อาจจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการมองเห็น นั่นเพราะเป็นแสงออร่าที่ดวงตามนุษย์ไม่สามารถสัมผัสได้ ผู้ที่มีอภิญญาเทียบเท่ากันเท่านั้น จึงจะสามารถมองเห็นสิ่งเหล่านี้ได้ แต่กระนั้น วิชาโบราณที่เห็นผลด้วยตาเปล่า ก็มีมากมายนัก ดังคำประพันธ์ หรือบันทึกเก่าแก่ของปราชญ์โบราณ ที่ส่งผลให้ครูบาอาจารย์ หรือพระอริยสงฆ์บางรูป เป็นที่เลื่องลือตราบจนถึงปัจจุบัน

ตัวอย่างนี้ผู้เขียนเพียงเปรียบเปรยชี้แจงเท่านั้น ห้ามส่งเข้ามาถามนะครับว่า จะฝึกคาถาอะไร ต้องฝึกอภิญญาธาตุไหน เพราะนั้นไม่ใช่อุบายที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพึงให้พิจารณา ผู้เขียนเพียงบอกกล่าวชี้แจงว่า การเล่นแร่แปรธาตุของคนโบราณนั้น มิใช่ฝึกกันเพียงวันสองวัน แต่ท่านใช้เวลาทั้งชีวิตในการฝึกฝน ดังนั้น เวทมนย์กลคาถาต่าง ๆ จึงได้สำเร็จได้ เป็นจริงได้

ตามคำอ่านคาถาอาคม หากเราระลึกถึงคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือครูบาอาจารย์ที่ส่งมอบให้ ก็สามารถเกิดปาฏิหารย์ได้เช่นกัน เพราะครูบาอาจารย์เหล่านั้นท่านกำกับไว้ดีแล้ว วิเศษณ์แล้ว ดังนั้นจะขอส่งมอบต่อไปเพื่อเป็นวิทยาทานเท่านั้น เราจะไม่พึงสงสัย หรือหลงไหลในไสยศาสตร์ใดจนเกินการพิจารณาตนเอง การพิจารณาลมหายใจ การดำเนินชีวิต และการพิจารณาความตายโดยไม่ประมาท คือแนวทางที่พุทธองค์ทางบัญญัติ และการเจริญกรรมฐานด้วย อานาปานสติ คือสิ่งที่ควรขัดเกลาจิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิมุตติสุขอย่างแท้จริง


ความคิดเห็น

พระคาถาน่าสนใจศึกษา

บอกบุญ "ซื้อที่ดินถวายวัด" อานิสงส์แรงกล้า ศรัทธาร่วมใจ สร้างปูชนียสถาน ณ วัดแม่ไฮ จ.ลำปาง

พระคาถาบูชาพระนายรายณ์ทรงสุบรรณ

บทแผ่เมตตา และอุทิศส่วนกุศล