พระคาถาแนะนำ

"ภูริทัตชาดก" พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญานาค (ทศชาติ) ชาติที่ 6 ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

·  นางนาคมาณวิกากับพรหมทัตกุมาร (พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญานาค ตอนที่ 1) ในอดีตกาล ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ทรงประทานตำแหน่งอุปราชแก่พระราชโอรส ต่อเมื่อพระราชทานไปแล้วกลับทอดพระเนตรเห็นยศและอำนาจของพระราชโอรสนั้น แล้วเกิดความระแวงว่า พระราชโอรสจะพึงยึดแม้ราชสมบัติของตน จึงรับสั่งให้เรียกพระราชโอรสนั้นมาแล้วตรัสว่า “ดูก่อนพ่อ เธอไม่อาจจะอยู่ในที่นี้ เธอจงออกไปจากที่นี้ แล้วไปอยู่ในที่ ที่เธอชอบใจ โดยล่วงไปแห่งเรา เธอจงยึดเอาราชสมบัติอันเป็นของแห่งตระกูล” (หมายถึงให้ไปหาทำเลที่ชอบ ต่อเมื่อตนเองสิ้นแล้วจึงค่อยกลับมาเอาราชสมบัติภายหน้า) พระราชโอรสทรงรับพระดำรัส จึงกราบลาพระราชบิดา แล้วเสด็จออกจากนคร ไปหยุดที่ริมแม่น้ำยมุนา อันเป็นที่ตั้งของแม่น้ำ ทะเล และภูเขา จึงสร้างบรรณศาลา (ที่พัก) ไว้ที่แห่งนั้น มีรากไม้และผลไม้เป็นอาหารอันอุดม ครั้งนั้น นางนาคหม้ายมาณวิกา (นาคสาวที่สามีตาย) ในพิภพนาคฝั่งมหาสมุทร เห็นผู้อื่นมีสามีจึงคิดอิจฉา จิตใจเกิดกิเลสความอยากมีอยากได้ขึ้นมาบ้าง จึงขึ้นมาริมฝั่งแล้วพบรอยเท้าของพระราชโอรส เมื่อเดินตามรอยเท้าไปพบเห็นบ

คำทำวัตรเช้าฉบับสมบูรณ์

การสวดมนต์ทำวัตร คือการจัดระเบียบทางความคิด และให้มีจิตตั้งมั่นต่อการบำเพ็ญเพียร เป็นการเตือนสติตนเองว่า ขณะนี้ ฉันมีศีลบริสุทธิ์กี่ประการก็ตาม และฉันจะสวดมนต์ทำวัตร เพื่อการระลึกถึงคุณแห่งพระรัตนตรัย  ซึ่งเป็นดั่งเครื่องเตือนสติ มิให้หลงมัวเมา หรือหม่นหมอง ในขณะที่ตั้งใจปฏิบัติธรรม

--------------------------------------------------------------------

คำบูชาพระรัตนตรัย (สำหรับทำวัตร)

พึงสวดคำบูชาพระรัตนตรัยก่อนทำการสวดมนต์ทำวัตรเช้า และ ทำวัตรเย็น
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, 
 พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ,
สะวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม, 
 พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ตรัสสอนดีแล้ว,
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ปฏิบัติดีแล้ว,
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง, 
 ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น พร้อมด้วยพระธรรม พร้อมด้วยพระสงฆ์,
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ, 
 ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ ที่ยกขึ้นแล้วตามสมควร,
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ, 
 พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว ขอทรงกรุณาโปรดเถิด
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา, 
 ขอได้มีน้ำพระทัย อนุเคราะห์แก่หมู่ชนที่เกิดมาในภายหลัง,
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ, 
 ขอจงทรงรับเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้ อันเป็น
บรรณาการของคนยาก,
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ เพื่อเป็นประโยชน์และความสุข แก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ,
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, 
 พระผู้มีพระภาคเจ้า, 
เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัส
รู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมี, 
 ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน,
(กราบ)

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, 
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, 
ตรัสไว้ดีแล้วธัมมัง นะมัสสามิ, 
 ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม,
(กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว,
สังฆัง นะมามิ, ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์,

(กราบ)
วัดถ้ำรัตนคูหา

(วัดถ้ำรัตนคูหา จ.ลำปาง)
-----------------------------------------------------------------------------------------

คำทำวัตรเช้า


(ปุพพภาคนมการ)
(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส. )


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต 

 ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ; 

 อะระหะโต ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ; 

 สัมมาสัมพุทธัสสะ. 

 ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ( ๓ ครั้ง )



(๑. พุทธาภิถุติ)


(หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส.)

โย โส ตะถาคะโต, 

พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด ;

อะระหัง เป็นผู้ไกลจากกิเลส ;

สัมมาสัมพุทโธ , 

 เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;

วิชชาจะระณะสัมปันโน, 

 เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ;

สุคะโต, 

 เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ;

โลกะวิทู, 

 เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ;

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, 

 เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ;

สัตถา เทวะมะนุสสานัง, 

 เป็นครูผู้สอน ของเทวคาและมนุษย์ทั้งหลาย ;

พุทโธ, 

 เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ;

ภะคะวา, 

 เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ;

โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรหมะกัง, สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ,

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว, ทรงสอนโลกนี้ พร้อมทั้งเทวดา, มาร พรหม, และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์, พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ;

โย ธัมมัง เทเสสิ, 

 พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ทรงแสดงธรรมแล้ว ;

อาทิกัลยาณัง, ไพเราะในเบื้องต้น,

มัชเฌกัลยาณัง, ไพเราะในท่ามกลาง,

ปะริโยสานะกัลยาณัง, ไพเราะในที่สุด,

สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปริปุณณัง ปะริสุทธัง พรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ,

ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง, พร้อมทั้งอรรถะ (คำอธิบาย) พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ) ;

ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ;

ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ. ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า

(กราบรำลึกพระพุทธคุณ)



(๒. ธัมมาภิถุติ)


(หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส.)

โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, 

 พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว ;

สันทิฏฐิโก, 

 เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง ;

อะกาลิโก, 

 เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล ;

เอหิปัสสิโก, 

เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ;

โอปะนะยิโก, 

 เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ;

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ, 

 เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ;

ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ, 

 ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น ;

ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ, 

 ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า ;

(กราบรำลึกพระธรรมคุณ)



(๓. สังฆาภิถุติ)


(หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส.)

โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 

 สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว ;

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 

 สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว ;

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 

 สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็น

เครื่องออกจากทุกข์แล้ว ;

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 

 สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว ;

ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :

จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, 

 คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, 

นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ ;

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 

 นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ;

อาหุเนยโย, 

 เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ;

ปาหุเนยโย, 

 เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ;

ทักขิเณยโย, 

 เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน ;

อัญชะลิกะระณีโย, 

 เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี ;

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ, 

 เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ;

ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ, 

 ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น ;

ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ, 

 ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า ;

(กราบรำลึกพระสังฆคุณ)


(๔. รตนัตตยัปปณามคาถา)


(หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะสังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส.)

พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ ;

โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน, 

 พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด ;

โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก, 

 เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก ;

วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง, 

 ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.

ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน, 

 พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป ;

โย มัคคะปากามะเภทะภินนะโก, 

 จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน, ส่วนใด

โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน, 

 ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น ;

วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง, 

 ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.

สังโฆ สุเขตตาภยะติเขตตะสัญญิโต, 

 พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย ;

โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก, 

 เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, 

ตรัสรู้ตามพระสุคต, หมู่ใด ;

โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส, 

 เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี ;

วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง, 

 ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.

อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, 

วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง, ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา, มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา.

บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม, 

คือพระรัตนตรัย อันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว, 

ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้, 

ขออุปัททวะ (ความชั่ว) ทั้งหลาย, 

จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย, 

ด้วยอำนาจความสำเร็จ อันเกิดจากบุญนั้น.


(๕. สังเวคปริกิตตนปาฐะ)

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้ ;

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;

ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก, และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ ;

อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก, เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ;

สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต ; 

 เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็น ธรรมที่พระสุคตประกาศ ;

มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ : 

พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า : 


ชาติปิ ทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ;

ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ ;

มะระณัมปิ ทุกขัง แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ;

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,

แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ;

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข, 

 ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข, 

 ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, 

 มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ;

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา, 

 ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ;

เสยยะถีทัง, 

 ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ :-

รูปูปาทานักขันโธ, 

 ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป ;

เวทะนูปาทานักขันโธ, 

 ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา ;

สัญญูปาทานักขันโธ, 

 ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา ;

สังขารูปาทานักขันโธ, 

 ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร ;

วิญญาณูปาทานักขันโธ, 

 ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ ;

เยสัง ปะริญญายะ, 

 เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์ เหล่านี้ เอง,

ธะระมาโน โส ภะคะวา, 

 จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,

เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ, 

 ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก ;

เอวังภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ,

อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, 

ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย, 

ส่วนมาก, 

มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า :-

รูปัง อะนิจจัง, 
 รูปไม่เที่ยง ; 

 เวทะนา อะนิจจา, เวทนาไม่เที่ยง ; 

 สัญญา อะนิจจา, สัญญาไม่เที่ยง ; 

 สังขารา อะนิจจา, สังขารไม่เที่ยง ; 

 วิญญาณัง อะนิจจัง วิญญาณไม่เที่ยง ; 

 รูปัง อะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน ;

เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน ; 

 สัญญาอะนัตตา, สัญญาไม่ใช่ตัวตน ; 

 สังขาราอะนัตตา, สังขารไม่ใช่ตัวตน ; 

 วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน ; 

 สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง..

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ, 

 ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้. 

เต (ตา) มะยัง โอติณณามหะ, 

 พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว ; 

ชาติยา, โดยความเกิด ; ชะรามะระเณนะ, 

 โดยความแก่และความตาย ; 

 โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปยาเสหิ, 

 โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ทั้งหลาย ; 

 ทุกโขติณณา, 

 เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว ; 

 ทุกขะปะเรตา, 

 เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว ;

อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ.

ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้  จ
ะพึงปรากฏชัด แก่เราได้.


จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา,

เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า 

แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ ;

ธัมมัญจะ สังฆัญจะ, ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระสงฆ์ด้วย ;

ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ,

จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง ;

สา สา โน ปะฏิปัตติ, ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย ;

อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตูติ.

จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.



ปัตติทานะคาถา

(กรวดน้ำยาเทวะตา)

(หันทะ มะยัง ปัตติทานะ คาถาโย ภะณามะ เส)

ยา เทวะตา สันติ วิหาระวาสินี, 

 เทวดาเหล่าใด ที่อยู่ประจำในวัด

ถูเป ฆะเร โพธิฆะเร ตะหิง ตะหิง, 

 สิงสถิตอยู่ที่เรือนสถูป ที่ต้นพระศรีมหาโพธิและที่นั้น ๆ

ตา ธัมมะทาเนนะ ภะวันตุ ปูชิตา, 

 เทวดาเหล่านั้นเป็นผู้ที่เราบูชาด้วยธรรมทาน

โสตถิง กะโรนเตธะ วิหาระมัณฑะเล, 

ขอจงทำความสวัสดีให้เกิดมีในบริเวณวัดนี้

เถรา จะ มัชฌา นะวะกา จะ ภิกขะโว, 

ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพระเถระ, เป็นมัชฌิมะ, เป็นนะวะกะ

สารามิกา ทานะปะตี อุปาสะกา, 

 ชาววัดอุบาสก อุบาสิกาผู้เป็นทานะบดี,

คามา จะ เทสา นิคะมา จะ อิสสะรา, 

 ชาวบ้าน ชาวนิคม ชาวต่างประเทศก็ดี, ผู้ที่เป็นอิสระเป็นใหญ่

สัปปาณะภูตา สุขิตา ภะวันตุ เต, 

 ขอให้ผู้มีชีวิตเหล่านั้นจงมีความสุขเถิด,

ชะลาพุชา เยปิ จะ อัณฑะสัมภะวา, 

 สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในครรภ์, เกิดในไข่, เกิดในไคล

สังเสทะชาตา อะถะโวปะปาติกา, 

 เกิดเป็นพรหม เทวดา และเกิดในนรก

นิยยานิกัง ธัมมะวะรัง ปะฏิจจะ เต, 

 จงอาศัยธรรมอันประเสริฐ เป็นทางออกนำออกจากทุกข์

สัพเพปิ ทุกขัสสะ กะโรนตุ สังขะยังฯ สัตว์ทั้งหลาย จงทำความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวงฯ

ฐาตุ จิรัง สะตัง ธัมโม, 

 ขอพระธรรมของสัตบุรุษ, 

จงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน,

ธัมมัทธะรา จะ ปุคคะลา, 

 ขอบุคคลทั้งหลาย ผู้ทรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมจงมีอายุยืน

สังโฆ โหตุ สะมัคโค วะ, 

 ขอพระสงฆ์จงมีความพร้อมเพรียงกัน,

อัตถายะ จะ หิตายะ จะ, 

 เพื่อประกอบสิ่งอันเป็นประโยชน์ และความเกื้อกูล,

อัมเห รักขะตุ สัทธัมโม, สัพเพปิ ธัมมะจาริโน, 

ขอพระสัทธรรมจงรักษาเราทั้งหลาย,

วุฑฒิง สัมปาปุเณยยามะ, 

ธัมเม อะริยัปปะเวทิเตฯ

ขอให้เราทั้งหลาย พึงประสบความเจริญในพระธรรมวินัยที่พระอริยเจ้าประกาศไว้แล้วฯ

ปะสันนา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน พุทธะสาสะเน, 

 ขอสรรพสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา,

สัมมา ธารัง ปะเวจฉันโต กาเล เทโว ปะวัสสะตุ, 

 ขอฝนเมื่อจะหลั่งลงมา จงตกต้องตามฤดูกาล,

วุฑฒิภาวายะ สัตตานัง สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง, 

 ขอฝนจงนำความสำเร็จมาสู่แผ่นดิน เพื่อความเจริญแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย,

มาตา ปิตา จะ อัตะระชัง นิจจัง รักขันติ ปุตตะกัง, 

 มารดา บิดาย่อมรักษาบุตร ที่เกิดในตนเป็นนิจ ฉันใด,

เอวัง ธัมเมนะ ราชาโน ปะชัง รักขันตุ สัพพะทาฯ

ขอพระราชา จงปกครองประชาชนโดยธรรมในกาลทุกเมื่อฉันนั้น เทอญฯ

ความคิดเห็น

  1. How do slots work? Casino.com Forum
    2 Answers. I've been playing casino games 제왕카지노 for more than 슬롯 4 years and I have been to 스포츠사이트 a handful of 5 answers  ·  Top answer: Yes. For me, slot machines are a very important part of the 슬롯 커뮤니티 game, and I am sure 점심 메뉴 룰렛 to

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

กรุณาแสดงความเห็นด้วยความสุภาพและมีวิจารณญาณ

พระคาถาน่าสนใจศึกษา

บอกบุญ "ซื้อที่ดินถวายวัด" อานิสงส์แรงกล้า ศรัทธาร่วมใจ สร้างปูชนียสถาน ณ วัดแม่ไฮ จ.ลำปาง

พระคาถามหาเศรษฐี (ต้นฉบับตามพระคัมภีร์ คาถา ๑๐๘ พิสดาร)

พระคาถาบูชาพระนายรายณ์ทรงสุบรรณ

บทแผ่เมตตา และอุทิศส่วนกุศล