พระคาถาแนะนำ

"ภูริทัตชาดก" พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญานาค (ทศชาติ) ชาติที่ 6 ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

·  นางนาคมาณวิกากับพรหมทัตกุมาร (พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญานาค ตอนที่ 1) ในอดีตกาล ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ทรงประทานตำแหน่งอุปราชแก่พระราชโอรส ต่อเมื่อพระราชทานไปแล้วกลับทอดพระเนตรเห็นยศและอำนาจของพระราชโอรสนั้น แล้วเกิดความระแวงว่า พระราชโอรสจะพึงยึดแม้ราชสมบัติของตน จึงรับสั่งให้เรียกพระราชโอรสนั้นมาแล้วตรัสว่า “ดูก่อนพ่อ เธอไม่อาจจะอยู่ในที่นี้ เธอจงออกไปจากที่นี้ แล้วไปอยู่ในที่ ที่เธอชอบใจ โดยล่วงไปแห่งเรา เธอจงยึดเอาราชสมบัติอันเป็นของแห่งตระกูล” (หมายถึงให้ไปหาทำเลที่ชอบ ต่อเมื่อตนเองสิ้นแล้วจึงค่อยกลับมาเอาราชสมบัติภายหน้า) พระราชโอรสทรงรับพระดำรัส จึงกราบลาพระราชบิดา แล้วเสด็จออกจากนคร ไปหยุดที่ริมแม่น้ำยมุนา อันเป็นที่ตั้งของแม่น้ำ ทะเล และภูเขา จึงสร้างบรรณศาลา (ที่พัก) ไว้ที่แห่งนั้น มีรากไม้และผลไม้เป็นอาหารอันอุดม ครั้งนั้น นางนาคหม้ายมาณวิกา (นาคสาวที่สามีตาย) ในพิภพนาคฝั่งมหาสมุทร เห็นผู้อื่นมีสามีจึงคิดอิจฉา จิตใจเกิดกิเลสความอยากมีอยากได้ขึ้นมาบ้าง จึงขึ้นมาริมฝั่งแล้วพบรอยเท้าของพระราชโอรส เมื่อเดินตามรอยเท้าไปพบเห็นบ

การอาราธนาถือศีล ปฏิบัติธรรม และการลาศีลที่ถูกต้อง

การอาราธนาศีล 8
สำหรับท่านที่ต้องการปฏิบัติธรรมด้วยการถือศีล 8 ซึ่งโดยปกติเราจะปฏิบัติธรรมกันที่วัดหากแต่ว่าสำหรับท่านใดที่มีเวลาน้อย ก็สามารถปฏิบัติเองที่บ้านได้ โดยทั่วไปการอาราธนาศีลนี้ จะกล่าวหลังจากที่เราทำการบูชาพระรัตนตรัยเสร็จสิ้นแล้ว และตั้งจิตอธิษฐานต่อพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า เราจะถือศีลปฏิบัติในศีล 8 ประการ จำนวนกี่วันและควรทำให้ได้ตามนั้น เนื่องจากการที่เราให้สัจจะต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ท่านก็จะปกปักรักษาเราให้ผ่านพ้นการปฏิบัติธรรมไปได้ด้วยดี หรือท่านอาจจะลองใจเราด้วยกลไกต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องทดสอบจิตใจที่เราต้องผ่านพ้นไปให้ได้ ในห้วงเวลาดังกล่าวนั้น แต่หากเราผิดสัจจะวาจาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เหล่าเจ้ากรรมนายเวรของเรา หรือมารทั้งหลาย ก็จะได้โอกาส หรือมีลู่ทางทำร้ายเราได้ด้วยเหตุอุปัทวะต่าง ๆ นา ๆ ตามแต่กรรม ตามแต่วาระนั้นเช่นกัน

คำกล่าวอาราธนาศีล  (อาราธนาศีล หลายคนใช้ มะยัง คนเดียวใช้ อะหัง, หลายคนใช้ยาจามะ คนเดียวใช้ ยาจามิ)

มะยัง (อะหัง) ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ, ทุติยัมปิ, มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ, ตะติยัมปิ, มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะฯ (ยาจามิ)  

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 8 ประการ พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ฯ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 8 ประการ พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ฯ แม้ครั้งที่ 2

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 8 ประการ พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ฯ แม้ครั้งที่ 3


วัดพระธาตุดอยพระฌาน

(วัดพระธาตุดอยพระฌาน จังหวัดลำปาง)
------------------------------------------------------------------------------------------
ว่านะโม 3 จบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ว่า 3 ครั้ง )

ไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิฯ

ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเจ้าเป็นสรณะ ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสังฆเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สอง ... แม้ครั้งที่สามฯ

คำสมาทานศีล (สมาทานคือ รับเอา, ถือเป็นข้อปฏิบัติ)

1. ปาณาติปาตา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและใช้ให้ผู้อื่นฆ่า

2. อะทินนาทานา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่ให้

3. อะพรัหมะจะริยา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการกระทำอันไม่ใช่ พรหมจรรย์ 

4. มุสาวาทา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดไม่จริง

5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

6. วิกาละโภชะนา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

7. นัจจะ, คีตะ, วาทิตะ, วิสูกะทัสนะ, มาลาคันธะ, วิเลปะนะ, ธาระณะ, มัณฑะนะ, วิภูสะนัฏฐานา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทะยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจาการฟ้อนรำ การขับเพลง การดนตรี การดูการเล่น ชนิดที่เป็นข้าศึกต่อการกุศล การทัดทรงสวมใส่ การประดับ การตกแต่งตน ด้วยพวงมาลา ด้วยเครื่องกลิ่น และเครื่องผัดทา

8. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการนั่งนอนบนที่นอนสูง และที่นอนใหญ่

หลังจากนั้นให้ทำการกราบพระสงฆ์ผู้ขอสมาทาน หรือพระพุทธที่เราบูชา โดยการตั้งนะโม 3 จบ แล้วว่าตามนี้

อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) 

 สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ) 

 มาตา ปิตุคุณัง อะหังวันทามิ (กราบ) 

 คุรูอุปัชฌาย์ อาจาริยะคุณัง อะหังวันทามิ (กราบ)

การกราบ 5 ครั้งนี้ ควรกราบก่อนทุกช่วงปฏิบัติ และสิ้นสุดการปฏิบัติธรรม แล้วหลังจากนั้นจึงแผ่เมตตา และอุทิศส่วนกุศลต่อไป

วิธีสมาทานกรรมฐาน

วิธีการสมาทานกรรมฐานหมายถึงการขอเข้าสู่การปฏิบัติธรรมโดยการทำสมาธิ หรือกรรมฐานต่าง ๆ โดยต้องทำการบูชาพระและบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันภยันตรายที่จะมารบกวนขณะเราทำทำสมาธิหรือปฏิบัติธรรมนั้น ๆ

จุดเทียน ธูป บูชาพระและกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยดังนี้

ตั้งนะโมฯ 3 จบ

อิมาหัง ภะคะวา, อัตตะภาวัง, ตุมหากัง, ปะริจจะชามิ,
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า, ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต, ต่อพระรัตนตรัย คือ, พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

อิมาหัง อาจาริยะ, อัตตะภาวัง, ตุมหากัง, ปะริจจะชามิ,
ข้าแต่พระอาจารย์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายตัว, ต่อครูบาอาจารย์, เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

นิพพานัสสะ, เม ภันเต, สัจฉิกะระณัตถายะ, กัมมัฏฐานัง เทหิ,
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ, ขอท่านจงให้กรรมฐานแก่ข้าพเจ้า, เพื่อทำให้แจ้ง, ซึ่งมรรคผลนิพพานต่อไป

อะหัง สุขิโต โหมิ,
ขอให้ข้าพเจ้าถึงสุข, ปราศจากทุกข์, ไม่มีเวร, ไม่มีภัย, ไม่มีความลำบาก, ไม่มีความเดือดร้อน, ขอให้มีความสุข, รักษาตนอยู่เถิด

สัพเพ สัตตา, สุขิตา โหนตุ,
ขอให้สัตว์ทั้งหลาย, ทุกตัวตน, ตลอดเทพบุตร, เทพธิดา ทุกพระองค์, พระภิกษุสามเณร, และผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่าน, ขอท่านจงมีความสุข, ปราศจากทุกข์, ไม่มีเวร, ไม่มีภัย, ไม่มีความลำบาก, ไม่มีความเดือดร้อน, ขอให้มีความสุข, รักษาตนอยู่เถิด

อัทธุวัง, เม ชีวิตัง,
ชีวิตของเราไม่แน่นอน, ความตายของเราแน่นอน, เราต้องตายแน่, เพราะชีวิตของเรา, มีความตายเป็นที่สุด, นับว่าเป็นโชคอันดีแล้ว, ที่เราได้เข้ามาปฏิบัติ, วิปัสสนากรรมฐาน, ณ โอกาสบัดนี้ ไม่เสียทีที่ได้เกิดมา, พบพระพุทธศาสนา

เยเนวะ ยันติ, นิพพานัง,
พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก, ได้ดำเนินไปสู่พระนิพพาน, ด้วยหนทางเส้นนี้, ข้าพเจ้า ขอตั้งสัจจะอธิษฐาน, ปฏิญาณตน, ต่อพระรัตนตรัย, และครูบาอาจารย์ว่า, ตั้งแต่นี้ต่อไป, ข้าพเจ้าจะตั้งอกตั้งใจประพฤติและปฏิบัติ, เพื่อให้บรรลุมรรคผล, ดำเนินรอยตามพระองค์ท่าน

อิมายะ, ธัมมานุธัมมะ, ปะฏิปัตติยา, ระตะนัตตะยัง, ปูเชมิ,
ข้าพเจ้าขอบูชา, พระรัตนตรัย, ด้วยการปฏิบัติธรรม, สมควรแก่มรรคผลนิพพานนี้, ด้วยสัจจะวาจา, ที่กล่าวอ้างมานี้, ขอให้ข้าพเจ้าได้บรรลุ, มรรคผลนิพพานด้วยเทอญ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ (อ่านว่า วิญญูฮีติ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย * (ออกเสียง อาหุไนโย) ปาหุเนยโย (ออกเสียง ปาหุไนโย) ทักขิเณยโย (ออกเสียง ทักขิไนโย) อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ


(เสร็จแล้วกราบ 3 ครั้ง)

วิธีการลากรรมฐาน และลาศีล 8 ประการ

คือการลาจากศีล 8 ข้อ อันมีข้อปฏิบัติที่ต้องบำเพ็ญในห้วงแห่งการรับศีล การลาคือการอาราธนาศีล 5 ติดตัวไปใช้ในชีวิตประจำวันแทนศีล 8 เรื่องนี้หลายคนยังเข้าใจผิดว่า การลาศีลคือการเลิกปฏิบัติศีลแล้วก็กลับไปใช้ชีวิตปกติ การลาจึงเหมือนการเลิก หรือการหมดวาระแห่งการปฏิบัติ โดยความเป็นจริงไม่มีบัญญัติคำลาศีล มีแต่การอาราธนาศีลข้อที่น้อยและปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน ติดตัวกลับไปจากวัด หรือจากสถานปฏิบัติธรรมแทน ตรงนี้ผู้เขียนขอแนะนำว่า ถ้าคิดว่าทำไม่ได้ 5 ข้อ ให้อาราธนาเท่าที่ทำได้ จะ 3 ข้อ หรือ 4 ข้อ ก็อาราธนาได้ ไม่ผิดกฎใด ๆ ไม่จำเป็นว่าจะต้องได้ครบ 5 ข้อ แต่ถ้าชีวิตประจำวันของท่าน ทำได้ครบ ก็จะประเสริฐมาก (หลายคนบอกว่า จะอาราธนาได้ยังไง 4 ข้อ เพราะเป็นคนที่ต้องเข้าสังคมสังสรรค์กับเพื่อน ผู้เขียนอยากจะบอกตรงนี้นะครับว่า ท่านทำได้ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่ใจ ถ้าคิดว่าทำข้อ 5 ไม่ได้ ก็กล่าวแค่ 4 ข้อต่อหน้าพระพุทธ อาราธนาเท่าที่ทำได้ ดีกว่าอาราธนาไป 5 ข้อแล้วทำไม่ได้ จิตใจจะหมองหม่นไปเสียปล่าว พอมีโอกาสเหมาะ ค่อยมารับศีล 8 ถือปฏิบัติใหม่ในวาระต่อไป และขัดเกลาจิตใจไปเรื่อย ๆ จนละได้ เลิกได้ หยุดได้ ก็พึงทำนะครับ สาธุ)

อาราธนาศีล 5 (ถ้าสวดหลายคนใช้ มะยัง แทน อะหัง และ ยาจามะ แทน ยาจามิ)

อะหัง (มะยัง) ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามิ (ยาจามะ)

ทุติยัมปิ อะหัง (มะยัง) ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามิ (ยาจามะ)

ตติยัมปิ อะหัง (มะยัง) ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามิฯ (ยาจามะ)

คำสมาทานศีล (สมาทานคือ รับเอา, ถือเป็นข้อปฏิบัติ)

1. ปาณาติปาตา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและใช้ให้ผู้อื่นฆ่า

2. อะทินนาทานา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่ให้

3. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เช่นการผิดลูกผิดเมียผู้อื่น เป็นต้น

4. มุสาวาทา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดไม่จริง

5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

คำกล่าวขอขมา

คำกล่าวขอขมานี้ เพื่อเป็นการขอขมาพระ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เราอาจกระทำการล่วงเกินลงไปในขณะปฏิบัติกรรมฐาน

วันทามิ พุทธัง, สัพพะเมโทสัง, ขะมะถะเม ภันเต,

วันทามิ ธัมมัง, สัพพะเมโทสัง, ขะมะถะเม ภันเต,

วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง, ขะมะถะเม ภันเต,

วันทามิ กัมมัฏฐานัง, สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต,

วันทามิ คุรูปัชฌาจริยะคุณัง, สัพพะเมโทสัง, ขะมะถะเม ภันเต,

วันทามิ อาราเม, พัทธะเสมายัง, โพธิรุขัง, เจติยัง, พุทธรูปัง, สัพพะเมโทสัง, ขะมะถะเม ภันเต,

ข้าพเจ้าขอวันทา, พระพุทธเจ้า, พระธรรมเจ้า, พระสงฆเจ้า, ขอพระพุทธเจ้า, พระธรรมเจ้า, พระสงฆเจ้า, จงงดโทษของข้าพเจ้า ทั้งปวง

ข้าพเจ้าขอวันทา, พระกรรมฐาน, ครูอุปัชฌาอาจารย์, ขอพระกรรมฐาน, ครูอุปัชฌาอาจารย์, จงงดโทษของข้าพเจ้าทั้งปวง,

ข้าพเจ้าขอวันทา, พระอาราม, พัทธเสมา, ต้นโพธิ์, พระเจดีย์, พระพุทธรูป, ในอารามนี้, ขอพระอาราม, พัทธเสมา, ต้นโพธิ์, พระเจดีย์, พระพุทธรูป, ในอารามนี้, จงงดโทษของข้าพเจ้า ทั้งปวง

อาจริเยปะมาเทนะ, ทะวารัตตะเยนะ กะตัง, สัพพัง อะปะราธัง, ขะมะตุ โน ภันเต,

ความผิดพลาดทั้งปวง, ที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, กระทำแล้ว, ด้วยกายก็ดี, ด้วยวาจาก็ดี, ด้วยใจก็ดี, ต่อหน้าที่ก็ดี, ลับหลังก็ดี, โดยเจตนาก็ตาม, ไม่เจตนาก็ตาม, ในพระอาจารย์, ขอพระอาจารย์, จงงดโทษเหล่านั้น, ให้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเทอญ

- กราบ 3 ครั้งเป็นอันเสร็จพิธี-

ความคิดเห็น

พระคาถาน่าสนใจศึกษา

บอกบุญ "ซื้อที่ดินถวายวัด" อานิสงส์แรงกล้า ศรัทธาร่วมใจ สร้างปูชนียสถาน ณ วัดแม่ไฮ จ.ลำปาง

พระคาถามหาเศรษฐี (ต้นฉบับตามพระคัมภีร์ คาถา ๑๐๘ พิสดาร)

พระคาถาบูชาพระนายรายณ์ทรงสุบรรณ

บทแผ่เมตตา และอุทิศส่วนกุศล