บทสวดพาหุงฯ (ชัยมงคลคาถา)
๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคลานิฯ
พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระยามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างครีเมขละ มาพร้อมกับเหล่าเสนามารซึ่งโห่ร้องกึกก้อง ด้วยวิธีอธิษฐานถึงทานบารมี เป็นต้น,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิฯ
อนึ่งพระจอมมุนี ได้เอาชนะยักษ์ชื่อ อาฬวกะ ผู้มีจิตหยาบกระด้าง ผู้ไม่มีความอดทน มีความพิลึกน่ากลัวกว่าพระยามาร ซึ่งได้เข้ามาต่อสู้อย่างยิ่งยวดจนตลอดคืนยันรุ่ง ด้วยวิธีทรมานอันดี คือ ขันติ ความอดทน,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิฯ
พระจอมมุนี ได้เอาชนะช้างตัวประเสริฐ ชื่อ นาฬาคิรี ที่เมายิ่งนัก และแสนจะดุร้าย ประดุจไฟป่าและจักราวุธและสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือ ความมีพระทัยเมตตา,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
๓. อุกขิตตะขัคคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิฯ
พระจอมมุนี ทรงคิดจะแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ จึงได้เอาชนะโจรชื่อ องคุลิมาล ผู้แสนจะดุร้าย มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นระยะทาง ๓ โยชน์,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
๔. กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฎฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิฯ
พระจอมมุนี ได้เอาชนะคำกล่าวใส่ร้ายของ นางจิญจมาณวิกา ซึ่งทำอาการเหมือนดั่งตั้งครรภ์ เพราะเอาท่อนไม้กลมผูกไว้ที่หน้าท้อง ด้วยวิธีทรงสมาธิอันงาม คือ ความกระทำพระทัยให้ตั้งมั่นนิ่งเฉย ในท่ามกลางหมู่ชน,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
๕. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิฯ
พระจอมมุนี ผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่าง คือ ปัญญา ได้เอาชนะ สัจจกะนิครนถ์ ผู้มีความคิดมุ่งหมายในอันจะละทิ้งความสัตย์ มีใจคิดจะยกถ้อยคำของตนให้สูงประดุจยกธง และมีใจมืดมนยิ่งนัก ด้วยการแสดงเทศนาให้ถูกใจ,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
๖. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธีนา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิฯ
พระจอมมุนี ได้เอาชนะพญานาคราช ชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีบอกอุบายให้พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส แสดงฤทธิ์เนรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพญานาค ชื่อ นันโทปนันทะ นั้น,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
๗. ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทะพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระพรหมผู้มีนามว่า ท้าวผกาพรหม ผู้มีฤทธิ์ คิดว่าตนเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ ผู้ถูกพญานาครัดมือไว้แน่น เพราะมีจิตคิดถือเอาความเห็นผิด ด้วยวิธีวางยา คือ ทรงแสดงเทศนาให้ถูกใจ,
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแด่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ
๘. เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ
บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพรุพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุกๆ วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้น คือ พระนิพพานอันบรมสุข นั้นแลฯ
บทสวดมหาการุณิโก (ชัยปริตร)
ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ
ขอท่านจงมีชัยชนะ ดุจพระจอมมุนีที่ทรงชนะมาร ที่โคนโพธิพฤกษ์ ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก ทรงปราโมทย์อยู่บนอปราชิตบัลลังก์อันสูง เป็นจอมมหาปฐพี ทรงเพิ่มพูนความยินดีแก่ เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้นเทอญ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ จาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตตะวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
เวลาที่ “สัตว์” (หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เช่น มนุษย์และสรรพสัตว์) ประพฤติชอบ ชื่อว่า ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี และขณะดี ครู่ดี บูชาดีแล้ว ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย กายกรรม เป็นประทักษิณ วจีกรรม เป็นประทักษิณ มโนกรรม เป็นประทักษิณ ความปรารถนาของท่านเป็นประทักษิณ สัตว์ทั้งหลายทำกรรม อันเป็นประทักษิณแล้ว ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลาย อันเป็น ประทักษิณ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
๙๙๙ .....................จบบทสวด............................ ๙๙๙
แนะนำหนังสือสำหรับสายมูเตลูที่แสวงหาหนทางที่ถูกต้อง
"มูอย่างไรให้ได้ผล" ต้องทำความเข้าใจที่มาที่ไปของความเชื่อทางศาสนา การผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธ พราหมณ์ ผี จนเป็นประเพณีปฏิบัติในประเทศไทย
"มูอย่างไรให้ได้ผล" ต้องทำความเข้าใจที่มาที่ไปของความเชื่อทางศาสนา การผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธ พราหมณ์ ผี จนเป็นประเพณีปฏิบัติในประเทศไทย
แต่เราจะมูอย่างไร ให้ไม่ผิดหลักของศาสนาที่เราเคารพบูชา
แนวทางปฏิบัติถูกเรียบเรียงไว้ในหนังสือเล่มนี้ (่ช่องทางสั่งซื้อคลิกที่ภาพ)
หนังสือ "สายมูต้องมนต์ + ชุดวีดีโอไกด์" ราคา 259.-
(สั่งซื้อแล้วจะมีใบแนบสแกน QR Code เข้าชมชุดวีดีโอไกด์)
แนวทางปฏิบัติถูกเรียบเรียงไว้ในหนังสือเล่มนี้ (่ช่องทางสั่งซื้อคลิกที่ภาพ)
หนังสือ "สายมูต้องมนต์ + ชุดวีดีโอไกด์" ราคา 259.-
(สั่งซื้อแล้วจะมีใบแนบสแกน QR Code เข้าชมชุดวีดีโอไกด์)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
กรุณาแสดงความเห็นด้วยความสุภาพและมีวิจารณญาณ