บทสวดมนต์ประจำวัน เจริญสติ เจริญโภคทรัพย์สมบัติ พระปริตรป้องกัน ต่ออายุขัย

บทสวดมนต์ประจำวัน เจริญสติ โภคทรัพย์ ปริตรป้องกัน สุขภาพ



เริ่มบูชาพระรัตนตรัย

๑. จุดเทียนเล่มขวาของพระพุทธรูปก่อน จากนั้นจึงค่อยจุดเล่มซ้าย
๒. จุดธูป ๓ ดอกแล้วปักที่กระถางธูป

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ;
อะระหะโต 
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ;
สัมมาสัมพุทธัสสะ. ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ( ๓ ครั้ง )

อิมินา สักกาเรนะ, พุทธัง อะภิปูชะยามิ,

ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้

อิมินา สักกาเรนะ, ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาพระธรรมเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้

อิมินา สักกาเรนะ, สังฆัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาพระสังฆเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้

บทบูชาพระรัตนตรัยดังนี้

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์,
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, (กราบ)

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,

พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว

ธัมมัง นะมัสสามิ,
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม, (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว,

สังฆัง นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์, (กราบ)

................................................

อาราธนาศีลศีล ๕ ประการก่อนสวดมนต์

อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ, ข้าพเจ้าขออาราธนาศีล ๕ ประการ พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ฯ (การระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์)

ทุติยัมปิ, อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ,  ข้าพเจ้าขออาราธนาศีล ๕ ประการ พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ฯ แม้ครั้งที่ ๒

ตะติยัมปิ, อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ ข้าพเจ้าขออาราธนาศีล ๕ ประการ พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ฯ แม้ครั้งที่ ๓

ไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเจ้าเป็นสรณะ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ, ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสังฆเจ้าเป็นสรณะ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิฯ แม้ครั้งที่สอง ... แม้ครั้งที่สามฯ

................................................

คำสมาทานศีล ๕ ประการ

๑. ปาณาติปาตา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและใช้ให้ผู้อื่นฆ่า

๒. อะทินนาทานา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่ให้

๓. กาเมสุมิจฉาจารา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม โดยการผิดลูกผิดเมียผู้อื่น

๔. มุสาวาทา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดไม่จริง

๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา, เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

(สมาทาน แปลว่า รับเอา, ถือเป็นข้อปฏิบัติ / สิกขาบท แปลว่า ข้อศีล, ข้อวินัย)

................................................

บทพุทธานุสติ

อิติปิ โส ภะคะวา
เพราะเหตุอย่างนี้, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา ติ. เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

บทธัมมานุสติ

สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,

พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว

สันทิฏฐิโก, ป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง

อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล

เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด

โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน

บทสังฆานุสติ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม
เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว

ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ

จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา

ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

อัญชะลิกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ.
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

................................................

บทสวดพระธารณปริตร

(๑) พุทธานัง ชีวิตตัสสะ นะ สักกา เกนะจิ อันตะราโย กาตุง
ตะถา เม โหตุ

อันพระชนม์ชีพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ซึ่งบุคคลใดไม่อาจกระทำอันตรายได้ฉันใด ขออันตรายทั้งปวงจงอย่าบังเกิดแก่ข้าพเจ้าเฉกเช่นเดียวกัน

อะตีตังเส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปะฏิ หะตะ ญานัง,
อนาคะตังเส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปะฏิ หะตะ ญานัง,

ปัจจุปันนังเส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปะฏิ หะตะ ญานัง,

อันว่าญาณที่ไม่มีเครื่องกระทบ ไม่มีการปิดกั้น และไม่มีวันถดถอยของพระพุทธองค์ ย่อมมีทั้งในอดีต, ในอนาคต และในปัจจุบัน

อิเมหิ ตีหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
พระพุทธองค์ ทรงเป็นผู้มีคุณธรรมสมบูรณ์ ทั้ง ๓ ประการ ดังกล่าวแล้วนี้

(๒) สัพพัง กายะกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปะริวัตตัง,
อันว่ากายกรรมทั้งปวงของพระพุทธองค์ ทรงมีญาณเป็นเครื่องนำ (เป็นประธาน) เป็นไปตามซึ่งญาณ

สัพพัง วจีกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปะริวัตตัง,

อันว่าวจีกรรมทั้งปวงของพระพุทธองค์ ทรงมีญาณเป็นเครื่องนำ (เป็นประธาน) เป็นไปตามซึ่งญาณ

สัพพัง มโนกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปะริวัตตัง,

อันว่ามโนกรรมทั้งปวงของพระพุทธองค์ ทรงมีญาณเป็นเครื่องนำ (เป็นประธาน) เป็นไปตามซึ่งญาณ

อิเมหิ ฉะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะภะคะวะโต
พระพุทธองค์ ทรงเป็นผู้มีคุณธรรมสมบูรณ์ ทั้ง ๖ ประการ
ดังกล่าวแล้วนี้

(๓) นัตถิ ฉันทัสสะ หานิ,
ความเสื่อมถอยของพระพุทธประสงค์, ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

นัตถิ ธัมมะเทสะนายะ หานิ,

ความเสื่อมถอยของการแสดงธรรม ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

นัตถิ วิริยัสสะ หานิ,
ความเสื่อมถอยแห่งความเพียร ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

นัตถิ วิปัสสะนายะ หานิ,
ความเสื่อมถอยของวิปัสสนาญาน ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

นัตถิ สมาธิธัสสะ หานิ,
ความเสื่อมถอยของสมาธิ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

นัตถิ วิมุตติยา หานิ,
ความเสื่อมถอยของความสุขในอรหัตผล ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

อิเมหิ ทะวาทะสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
พระพุทธองค์ ทรงเป็นผู้มีคุณธรรมสมบูรณ์ ทั้ง ๑๒ ประการ
ดังกล่าวแล้วนี้

(๔) นัตถิ ทะวา,

การหัวเราะสรวลเส ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

นัตถิ ระวา,
การพูดพลั้งเผลอโดยขาดสติ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

นัตถิ อัปผุฏฏัง,
พระธรรมที่มิได้ประกอบด้วยเณยยธรรม ๕ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

นัตถิ เวคายิตัตตัง,

การกระทำอันหุนหันพลันแล่นขาดวิจารณญาน ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

นัตถิ พะยาวะฏะมะโน,
การปล่อยใจเหม่อลอย ว้าวุ่นใจด้วยกิเลส ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

นัตถิ อัปปะฏิสังขารุเปกขา,
ความไม่เที่ยงธรรม ขาดซึ่งอุเบกขาในเตภูมิสังขาร ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

อิเมหิ อัฏฐาระสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง.
พระพุทธองค์ ทรงเป็นผู้มีคุณธรรมสมบูรณ์ ทั้ง ๑๘ ประการ ดังกล่าวแล้วนี้
ขอความเคารพนอบน้อม ขอจงมีแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์

(๕) นัตถิ ตถาคะตัสสะ กายะทุจริตตัง,
นัตถิ ตถาคะตัสสะ วจีทุจริตตัง,
นัตถิ ตถาคะตัสสะ มะโนทุจริตตัง,

อันว่าการประพฤติมิชอบ ที่เรียกว่า กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ย่อมไม่มีแก่พระตถาคต

นัตถิ อะตีตังเส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิ หะตะ ญานัง,
นัตถิ อะนาคะตังเส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิ หะตะ ญานัง,
นัตถิ ปัจจุปันนังเส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิ หะตะ ญานัง,

อันว่าญานที่มีเครื่องกระทบ ปิดกั้น และถดถอย ทั้งในอดีต ในอนาคต และในปัจจุบัน ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้า

นัตถิ สัพพัง กายะกัมมัง ญาณานุปุพพังคะมัง ญานัง นานุปะริวัตตัง,
นัตถิ สัพพัง วะจีกัมมัง ญาณานุปุพพังคะมัง ญานัง นานุปะริวัตตัง,
นัตถิ สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณานุปุพพังคะมัง ญานัง นานุปะริวัตตัง,

กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมที่ไม่มีญาณเป็นเครื่องนำ (เป็นประธาน) ไม่เป็นไปตามซึ่งญาณ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

อิมัง ธาระนัง อะมิตัง อะสะมัง, สัพพะสัตตานัง ตาณัง เลณัง,
สังสาระภะยะภีตานัง อัคคัง มหาเตชัง.

พระธารณะปริตรนี้ ไม่มีเครื่องเทียบ ไม่มีอะไรเสมอเหมือน เป็นที่พึ่งพึงอาศัยของสรรพสัตว์ทั้งหลายผู้กลัวภัยในวัฏสงสาร อัคคัง ประเสริฐ มะหาเตชัง มีเดชมาก

(๖) อิมัง อานันทะ ธาระณะปะริตตัง ธาเรหิ วาเรหิ ปะริปุจฉาหิ,
ดูก่อนอานนท์ ท่านจงท่องจำ สอบถาม และสาธยายพระธารณะปริตรนี้เถิด

ตัสสะ กาเย วิสัง นะ กะเมยยะ อุทะเก นะ ลัคเคยยะ, อัคคี นะ ทะเหยยะ, นานาภะยะวิโก,
นะ เอกาหาระโก, นะ ทะวิหาระโก, นะ ติหาระโก, นะ จะตุหาระโก, นะ อุมมัตตะกัง, นะ มูฬะหะกัง, มะนุสเสหิ อะมะนุสเสหิ นะ หิงสะกา.

ผู้สวดมนต์นี้เป็นประจำไม่ตายด้วยพิษงู พิษนาค ไม่ตายในน้ำ ในไฟ เป็นผู้พ้นภัยนานา ใครคิดทำร้ายวันเดียวไม่สำเร็จ สองวัน สามวัน สี่วันก็ไม่สำเร็จ ไม่เป็นโรคบ้าใบ้ไร้สติ มนุษย์ แลอมนุษย์ทั้งหลาย ไม่สามารถทำร้ายหรือเบียดเบียนได้

(๗) ตัง ธาระณัง ปะริตตัง ยะถะ กะตะเม
อันว่าพระธารณะปริตรนี้ มีความศักดิ์สิทธิ์ คือ

ชาโล,
มีอานุภาพ ดั่งดวงอาทิตย์ ๗ ดวงขึ้นพร้อมกันในวันโลกาวินาศ

มะหาชาโล,
มีอานุภาพเหมือนตาข่ายเหล็ก คุ้มภัยจาก เทวดา นาค ครุฑ ยักษ์ แลรากษส เป็นต้น

ชาลิตเต,
มีอานุภาพประหารศัตรูทั้งหลาย

มะหาชาลิตเต,
มีอานุภาพให้พ้นจากกัปทั้ง ๓ คือ โรคันตรกัป สัตถันตรกัป และ ทุพภิกขันตรกัป

ปุคเค, มะหาปุคเค,
มีอานุภาพให้พ้นจากโรดต่างๆ ยามปฏิสนธิ คือ ไม่เป็นบ้าใบ้ ไม่ตาบอด ไม่หูหนวก และระงับอุบัติภัยทั้งปวง

สัมปัตเต,
สามารถได้ทรัพย์สมบัติที่ยังไม่ได้

มะหาสัมปัตเต,
ทรัพย์สมบัติที่ได้แล้วก็เจริญเพิ่มพูนขึ้น

ภูตัง คะมะหิ ตะมังคะลัง,

สามารถประหารความมืด เพื่อการเข้าถึงความสว่างได้

(๘) อิเม โข ปะนานันทะ ธาระณะปะริตตัง สัตตังสะเตหิ
สัมมาสัมพุทธะโกฏีหิ ภาสิตัง,

ดูก่อนอานนท์ อันพระธารณะปริตรนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงตรัสไว้ว่า

วัตเต, อะวัตเต,
พึงกระทำความดี, ไม่กระทำความชั่ว

คันธะเว, อะคันธะเว,

พึงนำมาซึ่งกลิ่นรสอันเป็นธรรม,
ไม่พึงนำมาซึ่งธรรมอันไม่บริสุทธิ์

โนเม, อะโนเม,
พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจดี,
ไม่พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจชั่ว

เสเว, อะเสเว,
พึงสมาคมกับคนดี,
ไม่พึงสมาคมกับคนชั่ว

กาเย, อะกาเย,
พึงทำกายให้เป็นกายดี,
ไม่ทำกายให้เสื่อมด้วยมลทิน

ธาระเณ, อะธาระเณ,
พึงนำมาแต่สิ่งอันเป็นกุศล, ไม่นำมาซึ่งสิ่งอกุศล

อิลลิ, มิลลิ, ติลลิ, อะติลลิ,
พึงฟังแต่สิ่งดี, ไม่พึงฟังสิ่งที่ไม่ดี
พึงเห็นแต่นิมิตที่ดี, ไม่พึงเห็นนิมิตร้าย

โยรุกเข, มะหาโยรุกเข,
ต้นไม้ที่ตายแล้วสามารถฟื้นคืนได้,
ต้นไม้ที่ยังเป็นอยู่ ก็ทำให้เจริญงอกงามด้วยความจริง

ภูตังคะมะหิ, ตะมังคะลัง,
สามารถประหารความมืด เพื่อการเข้าถึงความสว่างได้

(๙) อิเม โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง นะวะ นะวุติยา
สัมมาสัมพุทธะโกฏีหิ ภาสิตัง,

ดูก่อนอานนท์ อันพระธารณปริตรนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงตรัสไว้ว่า

ทิฏฐิลา, รู้ความคิดร้ายของผู้อื่น,
ทัณฑิลา
, แคล้วคลาดจากอาวุธ แลเครื่องประหารทุกชนิด
มันติลา, สามารถทำให้เวทมนต์คาถาศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น
โรคิลา, กำจัดปัดเป่าอันตรายจากโรคต่างๆได้
ขะระลา, รอดปลอดภัยจากโรคร้ายแรง
ทุพพิลา, หลุดพ้นจากเครื่องจองจำ พันธนาการได้

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
ด้วยอำนาจแห่งคำสัจจ์นี้

โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา
ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ

................................................

บทสวดพระคาถาชินบัญชร

๑. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด ผู้องอาจในนรชน ทรงประทับเหนือชัยบัลลังก์อันกอปรด้วยบุญบารมี ทรงพิชิตพญามารพร้อมทั้งหมู่เสนา ทรงดื่มด่ำอมตรส คือ อริยะสัจ ๔ ประการ

๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ๒๘ พระองค์ มีพระตัณหังกรเป็นอาทิ จอมมุนีผู้นำสัตว์โลกให้พ้นจากกิเลสและกองทุกข์ ขอทรงประดิษฐานอยู่เหนือกระหม่อมของข้าพเจ้า

๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
ขอองค์พระพุทธรัตนะ ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมรัตนะ ประดิษฐานอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสังฆรัตนะ ผู้เป็นอากรแห่งคุณงามความดีทั้งปวง ประดิษฐานอยู่ที่อุระของข้าพเจ้า
(อากร แปลว่า บ่อเกิด, อุระ แปลว่า อก)

๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
พระอนุรุทธ์ประดิษฐานอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรประดิษฐานอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลานะประดิษฐานอยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะประดิษฐานอยู่เบื้องหลังของข้าพเจ้า

๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก
พระอานนท์กับพระราหุลประดิษฐานอยู่ที่หูขวา พระกัสสปะกับพระมหานามะประดิษฐานอยู่ที่หูซ้าย

๖. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
พระโสภิตะ ผู้ถึงพร้อมด้วยสิริ เป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ ดุจดวงอาทิตย์สาดแสง ประดิษฐานที่สุดส่วนผมเบื้องหลัง

๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
พระกุมาระกัสสะปะเถรเจ้า ผู้แสวงบุญทรงคุณอันยิ่งใหญ่ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะ เป็นบ่อเกิดแห่งความดีทั้งปวง ขอจงประดิษฐานที่ปากของข้าพเจ้าเป็นนิตย์

๘. ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ
พระปุณณะ พระองคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี ขอพระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฎเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผากของข้าพเจ้า

(กระแจะ แปลว่า ผงเครื่องหอมประสมแบบโบราณสำหรับทา หรือเจิม มีแก่นไม้หอม ชะมดเชียงหญ้าฝรั่น ไม้จันทน์)

๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
พระอสีติมหาเถระ ๘๐ พระองค์ที่เหลือ เป็นพุทธะสาวกของพระผู้ทรงชัย เสมือนโอรสแห่งพระชินเจ้า ล้วนรุ่งเรืองด้วยเดชแห่งศีล ขอจงมาสถิตอยู่ดี ณ อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย

๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
พระรัตนปริตรสถิตอยู่เบื้องหน้า พระเมตตปริตรสถิตอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรสถิตอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะปริตรสถิตอยู่เบื้องหลัง

๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยปริตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ พระปริตรที่เหลือสถิตมั่นเป็นกำแพงล้อมรอบ

๑๒. ชินา นานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
พระชินเจ้าทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณอันประเสริฐนานัปการ ดุจประดับอาภรณ์สัตตะปราการห้อมล้อมทั้ง ๗ ชั้น

๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา วะสะ โต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
เมื่อข้าพเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรมล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธะ ด้วยศีลอันบริสุทธิ์ อันมั่นคงเป็นนิตย์ ขออุปัทวะทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่ลม และน้ำดีเป็นต้น จงพินาศดับสูญไปอย่าได้เหลือ

๑๔. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหี (อ่านว่า ฮี) ตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลรักษาข้าพเจ้า ผู้อยู่ท่ามกลางแห่งพระบัญชร ดุจวงเขตกว้างใหญ่ดั่งพื้นแผ่นดิน ทุกเมื่อเทอญ

๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติฯ
ด้วยอานุภาพแห่งพระชินเจ้า จึงชนะเหตุอุปัทวะทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม จึงชนะศัตรูทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ จึงชนะอันตรายทั้งปวง ข้าพเจ้าผู้ได้รับการอภิบาลด้วยอานุภาพแห่งพระสัทธรรม ขอประพฤติตนด้วยศีลธรรมอันดีอยู่ในพระชินบัญชรฉะนี้แล.

(ชนะเหตุอุปัทวะ คือ ชนะความอุบาทว์, ชนะความเสนียดจัญไร ทั้งหลาย)

.....................................................

บทสวดมหาจักรพรรดิ

นะโมพุทธายะ
พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ ในภัทรกัปนี้ ได้แก่
นะ, พระกกุสันโธพุทธเจ้า โม, พระโกนาคมโนพุทธเจ้า พุท, พระกัสสโปพุทธเจ้า
ธา, พระศรีศากยมุนีโคตโมพุทธเจ้า ยะ, พระศรีอริยเมตไตรโยพุทธเจ้า

(คำอ่าน : พระกะกุสันโธ, พระโกนาคะมะโน, พระกัสสะโป, พระศรีศากกะยะมุนีโคตะโม,
พระศรีอะริยะเมตไตรโย)

พระพุทธะ ไตรรัตนะญาณ
ศีล สมาธิ ปัญญา คือญาณหยั่งรู้ทั้งสามอันเป็นที่สุดของพระพุทธเจ้า

มณีนพรัตน์
แก้ววิเศษ ๙ ประการ (เพชร มอบความแข็งแกร่ง, มณีแดง (ทับทิม) มอบเสน่ห์เมตตา, มรกต มอบญาณหยั่งรู้, บุษราคัม มอบลาภยศ, โกเมน มอบอายุ, นิลกาฬ (ไพลิน) มอบความสำเร็จ, มุกดาหาร มอบความบริสุทธิ์ ร่มเย็น, เพทาย มอบชัยชนะ, ไพฑูรย์ มอบความคุ้มครอง)

สีสะหัสสะ สุธรรมา
ความคิด การกระทำ และความรู้ทั้ง ๓ โลกธาตุ

พุทโธ ธัมโม สังโฆ
พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

ยะธาพุทโมนะ
พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ จากอนาคตกาลสู่อดีตกาล

พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา
ข้าพเจ้าขอบูชาซึ่งพระรัตนตรัย

อัคคีทานัง วะรังคันธัง
เพลิงบริสุทธิ์ ทำลายทุกข์สิ้นทั้งภายนอกและภายใน

สีวลี จะมหาเถรัง
พระสีวลีมหาเถระ ผู้เป็นเลิศในลาภ

อะหังวันทามิ ทูระโต
ข้าพเจ้าขอนมัสการสถานศักดิ์สิทธิ์ทุกสถาน

อะหังวันทามิ ธาตุโย
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระบรมสารีริกธาตุทั่วทั้งแสนโกฎิ

อะหังวันทามิ สัพพะโส พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ
ข้าพเจ้าขอนมัสการโดยประการทั้งปวงในพระพุทธศาสนาด้วยเทอญ

.....................................................

บทรัตนสูตร (รัตนปริตร)

๑. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
เหล่าภูตทั้งหลาย ทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
ขอหมู่ภูตทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีใจดีเถิด

อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตังฯ
และเชิญฟังคำสดุดีพระรัตนตรัย อันข้าพเจ้ากล่าว โดยเคารพเถิด

๒. ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
ดูก่อนภูตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายทั้งปวงจงฟังข้าพเจ้า

เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ขอท่านทั้งหลาย จงกระทำเมตตาจิต ในประชาชาวมนุษย์เถิด

ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ซึ่งเขาทั้งหลาย ทำเทวตาพลีอยู่ ทั้งกลางวันกลางคืน

ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ
เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท ช่วยคุ้มครองรักษาเขาเหล่านั้นด้วยเถิด

๓. ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น

สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
หรือรัตนะอันใดอันสูงค่า ในสรวงสวรรค์

นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
ทรัพย์หรือรัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า ไม่มีเลย

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะคุณอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๔. ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง, ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต

พระศากยมุนีเจ้า ทรงมีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใด เป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมตะอย่างแท้จริง

นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
สิ่งใดๆที่เสมอด้วยพระธรรมนั้น ย่อมไม่มี

อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะคุณอันสูงส่ง ในพระธรรม

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๕. ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดทรงสรรเสริญสมาธิว่าเป็นธรรมอันสะอาด

สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวว่าสมาธิเป็นคุณธรรมอันให้ผลโดยลำดับสม่ำเสมอ

สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
คุณธรรมอื่น ที่เสมอด้วยสมาธินั้น ย่อมไม่มี

อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะคุณอันสูงส่ง ในพระธรรม

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๖. เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัตถา
บุคคลเหล่าใด นับเรียงองค์ได้ เป็น ๘

จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
นับเป็นคู่ได้ ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว

เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
บุคคลเหล่านั้น เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ

ท่านทั้งหลาย ที่บุคคลถวายในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลเป็นอันมาก

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๗. เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
บุคคลทั้งหลายเหล่าใด ประกอบความเพียรอย่างดี
ดำเนินไปในศาสนาของพระโคดมเจ้าด้วยใจอันมั่นคง

เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น หน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ได้บรรลุคุณอันควรบรรลุ คือพระอรหัตตผลแล้ว

ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา

จึงได้เสวยอมตะรส คือความสงบเย็นจากความเร่าร้อนทั้งปวง

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ก็เป็นรัตนะคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๘. ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
เสาเขื่อนที่ฝังลงดินอย่างมั่นคงแล้ว ลมทั้ง ๔ ทิศไม่พึงทำให้หวั่นไหวได้ฉันใด

ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
เราตถาคตกล่าวว่า สัตบุรุษผู้หยั่งเห็นอริยสัจธรรม ก็มีอุปมาฉันนั้นนั่นแล

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ก็เป็นรัตนะคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๙. เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
บุคคลเหล่าใด กระทำอริยสัจธรรมทั้งหลายที่พระบรมศาสดาผู้มีปัญญาอันลึกซึ้ง ทรงแสดงดีแล้วให้แจ่มแจ้งแก่ตนได้

กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
บุคคลเหล่านั้นถึงจะยังเป็นผู้ประมาทอยู่มาก (พระโสดาบัน)

นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
แต่ท่านก็ย่อมไม่ถือเอาซึ่งภพที่ ๘ (คือเกิดอีกอย่างมาก ๗ ชาติ)

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ก็เป็นรัตนะคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๐. สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ

พระโสดาบันทรงละสังโยชน์ ๓ ประการได้แล้ว เพราะความถึงพร้อมแห่งญาณทัสนะ

สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิฯ

สังโยชน์ทั้ง ๓ ประการซึ่งเป็นกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพคือสักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส

๑๑. จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต

อนึ่งพระโสดาบันเป็นผู้พ้นได้แล้วจากอบายภูมิทั้ง ๔

ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
ทั้งไม่อาจที่จะทำอภิฐาน คือฐานะอันหนัก ๖ ประการ (อนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีต)

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ก็เป็นรัตนะคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๒. กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
พระโสดาบันนั้น ยังทำความผิดเล็กน้อยทางกาย ทางวาจา หรือทางใจอยู่บ้างก็จริง

อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
แต่เมื่อทำแล้ว ท่านเปิดเผยไม่ปกปิดความผิดนั้นไว้

อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
ความที่บุคคลเข้าถึงกระแสพระนิพพานแล้ว เป็นผู้ไม่ปกปิดความผิดไว้นี้ อันเราตถาคตกล่าวแล้ว

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ก็เป็นรัตนะคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๓. วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
พุ่มไม้ในป่าแตกยอดในเดือนคิมหันต์แห่งคิมหันต์ฤดูฉันใด

ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
พระตถาคตเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ

นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
ซึ่งเป็นหนทางให้ถึงพระนิพพาน เพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย
ก็มีอุปมาฉันนั้น

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ก็เป็นรัตนะคุณอันสูงส่งในพระพุทธเจ้า

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๔. วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
พระตถาคตเจ้าทรงเป็นผู้ประเสริฐ ทรงเป็นผู้รู้ธรรมอันประเสริฐ ทรงเป็นผู้ให้ธรรมอันประเสริฐ ทรงเป็นผู้นำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ

อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
ทรงเป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งพระธรรมอันประเสริฐ

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ก็เป็นรัตนะคุณอันสูงส่งในพระพุทธเจ้า

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๕. ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง

กรรมเก่าของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้ว กรรมสมภพใหม่ย่อมไม่มี

วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
พระอริยบุคคลเหล่าใดมีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป

เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา
พระอรหันต์เหล่านั้น มีพืชคือวิญญาณสิ้นไปแล้ว ไม่มีความพอใจที่จะเกิดอีกต่อไป

นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
เป็นผู้มีปัญญา ย่อมนิพพานเหมือนดังดวงประทีปที่ดับไปฉะนั้น

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้ข้อนี้ก็เป็นรัตนะคุณอันสูงส่งในพระสงฆ์

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

๑๖. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
เหล่าภูตทั้งหลาย ทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
เราทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้มาแล้ว อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด

๑๗. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
เหล่าภูตทั้งหลาย ทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
เราทั้งหลายจงนมัสการพระธรรมอันมาแล้ว อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด

๑๘. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
เหล่าภูตทั้งหลาย ทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี

ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
เราทั้งหลายจงนมัสการพระสงฆ์ผู้มาแล้ว อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสุขสวัสดีจงมีเถิด

พระคาถาอุณหิสวิชัย

อัตถิ อุณหิสสะ วิชะโย ธัมโม โลเก อะนุตตะโร สัพพะ สัตตะหิตัตถายะ ตัง ตะวัง คัณหาหิ เทวะเต
ดูก่อนเทวดา ธรรมะอันประเสริฐชื่ออุณหิสวิชัย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง ท่านจงถือเอาซึ่งธรรมะนั้นเถิด

ปะริวัชเช ราชะทัณเฑ อะมะนุสเสหิ ปาวะเก พยัคเฆ นาเค วิเส ภูเต อะกาละ มะระเณนะ วา
พึงพ้นจากราชทัณฑ์ พึงพ้นจากอมนุษย์ พ้นจากไฟ พ้นจากเสือ พ้นจากนาค พ้นจากยาพิษ พ้นจากภูติ พ้นจากความตายอันไม่ถึงเวลาอันสมควร

สัพพัสมา (อ่านว่า สัพพัสสะมา) มะระณา มุตโต ฐะเปตวา กาละมาริตัง
จะเป็นผู้พ้นจากความตายทั้งปวง เว้นแต่ความตายตามกาล หรือสมควรแก่เวลา

ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา
ด้วยอานุภาพแห่งธรรมะนั้น ขอเทวดาจงเป็นผู้มีความสุขทุกเมื่อ

สุทธะสีลัง สะมาทายะ ธัมมัง สุจะริตัง จะเร
พึงสมาทานศีลให้หมดจด พึงประพฤติธรรมให้สุจริต

ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา

ด้วยอานุภาพแห่งธรรมะนั้น ขอเทวดาจงเป็นผู้มีความสุขทุกเมื่อ

ลิกขิตัง จินติตัง ปูชัง ธาระณัง วาจะนัง คะรุง ปะเรสัง เทสะนัง สุตวา (อ่านว่า สุตตะวา) ตัสสะ อายุ ปะวัฑฒะตีติ
เพราะได้ฟังธรรมแล้ว เขียนไว้กีดี คิดไว้ก็ดี บูชาอยู่ จงจำไว้ให้ดี บอกกล่าวแก่กันและกัน และมีความเคารพหนักแน่นในธรรมะนั้น แล้วอายุขัยย่อมเจริญ ดังนี้

บริกรรมหัวใจเศรษฐี

อุ อา กะ สะ อุ อา กะ สะ อุ อา กะ สะ อุ (เปลี่ยน) อา กะ สะ อุ อา กะ สะ อุ อา กะ สะ อุ อา (เปลี่ยน) กะ สะ อุ อา กะ สะ อุ อา กะ สะ อุ อา กะ (เปลี่ยน) สะ อุ อา กะ สะ อุ อา กะ สะ อุ อา กะ สะ (เปลี่ยนกลับ) อุ อา กะ สะ อุ อา กะ สะ อุ อา กะ สะ”

“อุ ขยันหา, อารักษามั่น, กะ กัลยาณมิตร, สะ ชีวิตเหมาะสม ขออนุโมทนาบุญในธรรมทั้ง ๔ ประการที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ดีแล้ว“

หมายเหตุ :
** อุ ย่อมาจาก อุฏฐานสัมปทา แปลว่า ความขยันหมั่นเพียร ขยันหาเงิน
** อา ย่อมาจาก อารักขสัมปทา แปลว่า การรักษาของ รักษาทรัพย์ มีวินัยในการใช้จ่าย
** กะ ย่อมาจาก กัลยาณมิตตา แปลว่า การคบค้าสมาคมกับคนดี มีคุณธรรม
** สะ ย่อมาจาก สมชีวิตา แปลว่า การดำรงชีวิตที่เหมาะสมตามกำลังทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ฟุ่มเฟือย

..............................................

*** ฝึกดึงลมหายใจฟอกปอด ***

*** ฝึกสมาธิระยะสั้น ชำระจิตใจ (3-5 นาที หรือมากกว่านั้น) ***

...................................................

บทแผ่เมตตา

(ทันทันทีหลังปฏิบัติสมาธิเสร็จ)

สัพเพ สัตตา, สัตว์ทั้งหลาย, ที่เป็นเพื่อนทุกข์, เกิดแต่เจ็บตาย,
ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น,

อะเวรา โหนตุ, จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย,

อัพยาปัชฌา โหนตุ, จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้พยาบาทเบียนเบียนซึ่งกัน
และกันเลย,

อะนีฆา โหนตุ, จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย,

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ, 
จงมีความสุขกายสุขใจ,
รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

บทอุทิศส่วนกุศล

อิทัง เม, มาตาปิตูนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ, มาตาปิตะโร,

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า, ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า, จงมีความสุข, (หากมีท่านใดล่วงลับไปแล้ว ให้กล่าวด้วยว่าขอให้ดวงจิตของ......(เอ่ยชื่อท่าน) แม้ในสัมปรายภพ โปรดรับรู้ และร่วมอนุโมทนาบุญเอาเถิด)

อิทัง เม, ญาตีนังโหตุ, สุขิตาโหนตุ ญาตะโย,

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า, ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า, จงมีความสุข, แม้ญาติผู้ล่วงลับ ขอจงรับรู้ และร่วมอนุโมทนาบุญเอาเถิด

อิทัง เม, คุรุปัชฌายาจริยานัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ, คุรูปัชฌายาจริยา,
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า, ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า, จงมีความสุข

อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ, สัพเพ เทวา

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง, ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง, จงมีความสุข, ขอเทวดาทั้งหลายในที่นี้จงร่วมอนุโมทนาบุญเอาเถิด

อิทัง, สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ, สัพเพ เปตา,
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง,
ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง, จงมีความสุข,

อิทัง, สัพพะเวรีนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ, สัพเพ เวรี,
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง,
ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง, จงมีความสุข,

อิทัง, สัพพะสัตตานัง โหตุ, สุขิตาโหนตุ, สัพเพ สัตตา,
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง, ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง,
จงมีความสุข

ข้าพเจ้าขอน้อมรำลึกถึงพระสังกัจจายน์มหาเถระ และพระสีวลีด้วยใจบริสุทธิ์

บทบูชาพระสังกัจจายน์

กัจจายะนะ มหาเถโร พุทโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ

พุทธะสุภา สิตัง พุทธะตังสะ มะนุปปัตโต

พุทธะโชตัง นะมามิหัง ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม

นะมุตตะโม ปิโยนาคะ สุปัณณานัง ปิยินทะริยัง

นะมามิหัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิถีชะนา ราชาภาคินิ

จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะฯ

อิมินาสักกาเรนะ สาวะกะสังโฆ กัจจายะนะเถโร มหาเตชะวันโต พุทธะ

โภคาวะโห ปาระมิตาโร อิทธิ ฤทธิ ติตะ มะณะตัง สะระณัง คัจฉามิ


คำบูชาพระสีวลี

สีวะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระ ปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ

อะหัง วันทามิ สัพพะทา

สีวะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ

มหาลาภัง กะโรนตุ เม

ลาเภนะ อุตตะโม โหติ โส ระโห ปัจจะยาทิมหิ

มหาลาภัง สะทา โสตถิง ภะวันตุเม ราชะปุตโต จะโย เถโร

สีวะลี อิติรัสสุ ลาเภนะ อุตตะโม โหติ

ยัง ยัง ชะนะปะทัง ยาติ นิคะเม ราชะธานิโย สัพพัตถะ ปูชิโต โหติ

เถรัสสะ ปาเท วันทามิ เถรัสสานุภาเวนะ สัพพะลาโภ ภะวันตุเมฯ

สีวะลีนันทะ สีวะลีเถรัสสะ เอตถะตัง คุณัง สัพพะธะนัง

สุปะติฏฐิตัง สาริกะธาตุ พุทธะรูปัง อะหัง วันทามิ สัพพะทาฯ


** สวดบูชาเหล่าทวยเทพที่มีบนโต๊ะหมู่บูชาให้ครบ แล้วกราบลาพระ **

กราบลาพระรัตนตรัย

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ;

อะระหะโต ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ;
สัมมาสัมพุทธัสสะ. ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ( ๓ ครั้ง )

บทบูชาพระรัตนตรัยดังนี้

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์,
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, (กราบลาพระพุทธ)

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว

ธัมมัง นะมัสสามิ,
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม, (กราบลาพระธรรม)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว,

สังฆัง นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์, (กราบลาพระสงฆ์)

๙๙๙ .....................จบบทสวด............................ ๙๙๙

แนะนำหนังสือสำหรับสายมูเตลูที่แสวงหาหนทางที่ถูกต้อง
"มูอย่างไรให้ได้ผล" ต้องทำความเข้าใจที่มาที่ไปของความเชื่อทางศาสนา การผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธ พราหมณ์ ผี จนเป็นประเพณีปฏิบัติในประเทศไทย
แต่เราจะมูอย่างไร ให้ไม่ผิดหลักของศาสนาที่เราเคารพบูชา
แนวทางปฏิบัติถูกเรียบเรียงไว้ในหนังสือเล่มนี้ (่ช่องทางสั่งซื้อคลิกที่ภาพ)
หนังสือ "สายมูต้องมนต์ + ชุดวีดีโอไกด์" ราคา 259.- 
(สั่งซื้อแล้วจะมีใบแนบสแกน QR Code เข้าชมชุดวีดีโอไกด์)
สายมูต้องมนต์

หรือท่านใดชื่นชอบหนังสือศาสตร์พยากรณ์ ตำนาน ความเชื่อ สำหรับสายมูเพิ่มเติม 


ความคิดเห็น

พระคาถาน่าสนใจศึกษา

ชัยมงคลคาถา "บทพาหุงฯ" พร้อมคำแปล (สำหรับสวดให้ตัวเอง)

พระธารณปริตร ฉบับสมบูรณ์ (พร้อมคำแปล)

พระคาถาชินบัญชร (แปล) ฉบับสืบค้นสมบูรณ์

มนต์มหาปลุก

พระคาถาพญาราชสีห์ และพระคาถาพญาเสือ

พระคาถาเมฆจิต

พระคาถาเสกของกินมีปัญญา