พระคาถาแนะนำ

"ภูริทัตชาดก" พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญานาค (ทศชาติ) ชาติที่ 6 ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

·  นางนาคมาณวิกากับพรหมทัตกุมาร (พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญานาค ตอนที่ 1) ในอดีตกาล ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ทรงประทานตำแหน่งอุปราชแก่พระราชโอรส ต่อเมื่อพระราชทานไปแล้วกลับทอดพระเนตรเห็นยศและอำนาจของพระราชโอรสนั้น แล้วเกิดความระแวงว่า พระราชโอรสจะพึงยึดแม้ราชสมบัติของตน จึงรับสั่งให้เรียกพระราชโอรสนั้นมาแล้วตรัสว่า “ดูก่อนพ่อ เธอไม่อาจจะอยู่ในที่นี้ เธอจงออกไปจากที่นี้ แล้วไปอยู่ในที่ ที่เธอชอบใจ โดยล่วงไปแห่งเรา เธอจงยึดเอาราชสมบัติอันเป็นของแห่งตระกูล” (หมายถึงให้ไปหาทำเลที่ชอบ ต่อเมื่อตนเองสิ้นแล้วจึงค่อยกลับมาเอาราชสมบัติภายหน้า) พระราชโอรสทรงรับพระดำรัส จึงกราบลาพระราชบิดา แล้วเสด็จออกจากนคร ไปหยุดที่ริมแม่น้ำยมุนา อันเป็นที่ตั้งของแม่น้ำ ทะเล และภูเขา จึงสร้างบรรณศาลา (ที่พัก) ไว้ที่แห่งนั้น มีรากไม้และผลไม้เป็นอาหารอันอุดม ครั้งนั้น นางนาคหม้ายมาณวิกา (นาคสาวที่สามีตาย) ในพิภพนาคฝั่งมหาสมุทร เห็นผู้อื่นมีสามีจึงคิดอิจฉา จิตใจเกิดกิเลสความอยากมีอยากได้ขึ้นมาบ้าง จึงขึ้นมาริมฝั่งแล้วพบรอยเท้าของพระราชโอรส เมื่อเดินตามรอยเท้าไปพบเห็นบ

คำทำวัตรเย็นฉบับสมบูรณ์

การสวดมนต์ทำวัตร คือการจัดระเบียบทางความคิด และให้มีจิตตั้งมั่นต่อการบำเพ็ญเพียร เป็นการเตือนสติตนเองว่า ขณะนี้ ฉันมีศีลบริสุทธิ์กี่ประการก็ตาม และฉันจะสวดมนต์ทำวัตร เพื่อการระลึกถึงคุณแห่งพระรัตนตรัย  ซึ่งเป็นดั่งเครื่องเตือนสติ มิให้หลงมัวเมา หรือหม่นหมอง ในขณะที่ตั้งใจปฏิบัติธรรม

--------------------------------------------------------------------

คำบูชาพระรัตนตรัย (สำหรับทำวัตร)
พึงสวดคำบูชาพระรัตนตรัยก่อนทำการสวดมนต์ทำวัตรเช้า และ ทำวัตรเย็น
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, 
 พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ,
สะวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม, 
 พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ตรัสสอนดีแล้ว,
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ปฏิบัติดีแล้ว,
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง, 
 ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น พร้อมด้วยพระธรรม พร้อมด้วยพระสงฆ์,
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ, 
 ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ ที่ยกขึ้นแล้วตามสมควร,
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ, 
 พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว ขอทรงกรุณาโปรดเถิด
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา, 
 ขอได้มีน้ำพระทัย อนุเคราะห์แก่หมู่ชนที่เกิดมาในภายหลัง,
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ, 
 ขอจงทรงรับเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้ อันเป็น
บรรณาการของคนยาก,
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ เพื่อเป็นประโยชน์และความสุข แก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ,
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, 
 พระผู้มีพระภาคเจ้า, 
เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัส
รู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมี, 
 ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน,
(กราบ)

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, 
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, 
ตรัสไว้ดีแล้วธัมมัง นะมัสสามิ, 
 ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม,
(กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว,
สังฆัง นะมามิ, ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์,
(กราบ)

วัดพระธาตุหริภุญชัย

(วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน)
-------------------------------------------------------------------------------------------

คำทำวัตรเย็น


(ปุพพภาคนมการ)
(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส. )

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ;
อะระหะโต ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ;
สัมมาสัมพุทธัสสะ. ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ( ๓ ครั้ง )

(๑. พุทธานุสสติ )
(หันทะ มะยัง พุทธานุสสตินะยัง กะโรมะ เส.)

ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลฺยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต, ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้า นั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า อิติปิ โส ภะคะวา เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ , เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา ติ. เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้

(๒.. พุทธาภิคีติง )
(หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส.)

พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต, พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณเป็นต้น

สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต, มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ และพระกรุณาอันบริสุทธิ์

โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร, พระองค์ใด ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน

วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง. ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ ผู้ไม่มีกิเลส พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า

พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย

ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง.
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียร เกล้า

พุทธัสสาหัสฺมิ ทาโส*(ทาสี) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า

พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม.
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง, ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า

วันทันโตหัง*(ตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

พุทธัง เม วันทะมาเนนะ*(นายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่พระพุทธเจ้า ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา. อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(หมอบกราบลงกล่าวคำพร้อมกัน)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พุทโธ ปะฏิคคัณฺหะตุ อัจจะยันตัง, ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ . เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป

(๓ . ธัมมานุสสติ )
(หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.)

สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว

สันทิฏฐิโก ป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง

อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล

เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด

โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้

(๔. ธัมมาภิคีติ )
(หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส.)

สฺวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย,
พระธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐ เพราะประกอบด้วยคุณ คือ ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น

โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท, เป็นธรรมอันจำแนกเป็น มรรค ผล ปริยัติ และนิพพาน

ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี, เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว

วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด

ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง, พระธรรมใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย

ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า

ธัมมัสสาหัสฺมิ ทาโส*(ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า

ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง, ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม

วันทันโตหัง*(ตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ*(นายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา. อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(หมอบกราบลงกล่าวคำพร้อมกัน)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระธรรม

ธัมโม ปะฏิคคัณฺหะตุ อัจจะยันตัง, ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม. เพื่อการสำรวมระวัง ในพระธรรม ในกาลต่อไป

(๕. สังฆานุสสติ )
(หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว

ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ

จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา

ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

อัญชะลิกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ. เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

(๖. สังฆาภิคีติ )
(หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส.)

สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,
พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดี เป็นต้น

โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ, เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐ แปดจำพวก

สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต, มีกายและจิต อันอาศัยธรรม มีศีลเป็นต้น อันบวร

วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง. ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี

สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง, พระสงฆ์หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย

ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง.
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น อันเป็ที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สามด้วยเศียรเกล้า

สังฆัสสาหัสฺมิ ทาโส*(ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า

สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม.
พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง, ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์

วันทันโตหัง*(ตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนา ของพระศาสดา

สังฆัง เม วันทะมาเนนะ*(นายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์ ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา. อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(หมอบกราบลงกล่าวคำพร้อมกัน)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์

สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง, ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ. เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป

จบทำวัตรเย็นบริบูรณ์ (หมายเหตุ *บทสวดในวงเล็บสำหรับผู้หญิงสวด)

อะภิณหะปัจจะเวกขะณะ

ชะราธัมโมมหิ เรามีความแก่เป็นธรรมดา
ชะรัง อะนะตีโต (อะนะตีตา) เราไม่ล่วงพ้นจากความแก่ไปได้
พยาธิธัมโมมหิ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
พยาธิธัง อะนะตีโต (อะนะตีตา) เราไม่ล่วงพ้นจากความเจ็บไข้ไปได้
มะระณะธัมโมมหิ เรามีความตายเป็นธรรมดา
มะระณัง อะนะตีโต (อะนะตีตา) เราไม่ล่วงพ้นจากความตายไปได้
สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว
เรามีความเป็นต่าง ๆ และมีความละเว้น คือเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น,

กัมมัสสะโกมหิ เรามีกรรมเป็นของของตน
กัมมะทายาโท (ทา) เราจะต้องรับผลของกรรม (แปลตามศัพท์ – เรามีกรรมเป็นทายาท)
กัมมะโยนิ เรามีกรรมนำมาเกิด
กัมมะพันธุ เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ พวกพ้อง
กัมมะปะฏิสะระโณ (ณา) เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง กัมมัง กะริสสามิ เราจะทำกรรมอันใดไว้
กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา เป็นบุญหรือเป็นบาป
ตัสสะ ทายาโท (ทายาทา) ภะวิสสามิ เราจะได้รับผลของกรรมนั้น
อิตถินา วา หญิงก็ดี ปุริเสนะ วา ชายก็ดี คะหัฏเฐนะ วา คฤหัสบดีก็ดี ปัพพะชิเตนะ วา บรรพชิตก็ดี
อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง เราทั้งหลายควรพิจารณาอย่างนี้ ทุกวัน ๆ เถิด.


กายะคะตาสะติภาวะนา

อะยัง โข เม กาโย กายของเรานี้แล อุทธัง ปาทะตะลา เบื้องบน แต่พื้นเท้าขึ้นมา
อะโธ เกสะมัตถะกา เบื้องต่ำ แต่ปลายผมลงไป ตะจะปะริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ
ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ อัตถิ อิมัสมิง กาเย มีอยู่ในกายนี้
เกสา คือ ผมทั้งหลาย โลมา คือ ขนทั้งหลาย นะขา คือ เล็บทั้งหลาย ทันตา คือ ฟันทั้งหลาย ตะโจ คือ หนัง มังสัง คือ เนื้อ นะหารู คือ เอ็นทั้งหลาย อัฏฐิ คือ กระดูกทั้งกลาย อัฏญิมิญชัง เยื่อในกระดูก วักกัง ม้าม หะทะยัง หัวใจ ยะกะนัง ตับ กิโลมะกัง พังผืด ปิหะกัง ไต ปัปฝาสัง ปอด อันตัง ไส้ใหญ่ อันตะคุณัง ไส้น้อย อุทะริยัง อาหารใหม่ กะรีสัง อาหารเก่า ปิตตัง น้ำดี เสมหัง น้ำเสลด ปุพโพ น้ำเหลือง โลหิตัง น้ำเลือด เสโท น้ำเหงื่อ
เมโท น้ำมันข้น อัสสุ น้ำตา วาสะ น้ำมันเหลว เขโฬ น้ำลาย สิงฆาณิกา น้ำมูก ละสิกา น้ำไขข้อ มุตตัง น้ำมูตร

เอวะมะยัง เม กาโย กายของเรานี้อย่างนี้ อุทธัง ปาทะตะลา เบื้องบน แต่พื้นเท้าขึ้นมา
อะโธ เกสะมัตถะกา เบื้องต่ำ แต่ปลายผมลงไป ตะจะปะริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ
ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ดังนี้แล.

อุททิสสนาธิฏฐานคาถา

(หันทะ มะยัง อุททิสสะนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ เส.)

อิมินา ปุญญะ กัมเมนะ ด้วยบุญนี้ อุทิศให้
อุปัชฌายา คุณุตตะรา อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ
อาจะริยูปะการา จะ แลอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน
มาตา ปิตา จะ ญาตะกา ทั้งพ่อแม่ แลปวงญาติ
สุริโย จันทิมา ราชา สูรย์จันทร์ แลราชา
คุณ วันตา นะราปิ จะ ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ
พรหมะมารา จะ อินทรา จะ พรหมมาร และอินทราช
โลกกะปาลา จะ เทวะตา ทั้งทวยเทพและโลกบาล
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ ยมราช มนุษย์มิตร
มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ ผู้เป็นกลาง ผู้จ้องผลาญ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ขอให้ เป็นสุขศานติ์ทุกทั่วหน้า อย่าทุกข์ทน
ปุญญานิ ปะกะตานิ เม บุญผอง ที่ข้าทำ จงช่วยอำนวยศุภผล
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ให้สุข สามอย่างล้น
ชิปปัง ปาเปถะ โวมะตัง ให้ลุถึง นิพพานพลัน
อิมินา ปุญญะ กัมเมนะ ด้วยบุญนี้ ที่เราทำ
อิมินา อุททิเสนะ จะ แลอุทิศ ให้ปวงสัตว์
ขิปปาหัง สุละเภเจวะ เราพลันได้ ซึ่งการตัด
ตัณหุปาทานะ เฉทะนัง ตัวตัณหา อุปาทาน
เย สันตาเน หินา ธัมมา สิ่งชั่วในดวงใจ
ยาวะ นิพพานะโต มะมัง กว่าเราจะ ถึงนิพพาน
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ มลายสิ้น จากสันดาน
ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว ทุกๆ ภพ ที่เราเกิด
อุชุจิตตัง สะติปัญญา มีจิตตรง และสติ ทั้งปัญญา อันประเสริฐ
สัลเลโข วิริยัมหินา พร้อมทั้ง ความเพียรเลิศ เป็นเครื่องขูด กิเลสหาย
มารา ละภันตุ โนกาสัง โอกาส อย่าพึงมีแก่หมู่มาร สิ้นทั้งหลาย
กาตุญจะ วิริเยสุ เม เป็นช่อง ประทุษร้าย ทำลายล้าง ความเพียรจม
พุทธาธิปะ วะโร นาโถ พระพุทธผู้ บวรนาถ
ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม พระธรรมที่ พึ่งอุดม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ พระปัจเจกะพุทธสมทบ
สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง พบพระสงฆ์ ที่พึ่งผยอง
เตโสตตะมานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพนั้น
มาโร กาสัง ละภันตุ มา ขอหมู่มาร อย่าได้ช่อง
ทะสะปุญญานุภาเวนะ ด้วยเดชบุญ ทั้งสิบช่อง
มาโร กาสัง ละภันตุ มา อย่าเปิดโอกาสแก่มารเทอญ

ความคิดเห็น

พระคาถาน่าสนใจศึกษา

บอกบุญ "ซื้อที่ดินถวายวัด" อานิสงส์แรงกล้า ศรัทธาร่วมใจ สร้างปูชนียสถาน ณ วัดแม่ไฮ จ.ลำปาง

พระคาถามหาเศรษฐี (ต้นฉบับตามพระคัมภีร์ คาถา ๑๐๘ พิสดาร)

พระคาถาบูชาพระนายรายณ์ทรงสุบรรณ

บทแผ่เมตตา และอุทิศส่วนกุศล