พระคาถาแนะนำ

"ภูริทัตชาดก" พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญานาค (ทศชาติ) ชาติที่ 6 ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

·  นางนาคมาณวิกากับพรหมทัตกุมาร (พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญานาค ตอนที่ 1) ในอดีตกาล ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ทรงประทานตำแหน่งอุปราชแก่พระราชโอรส ต่อเมื่อพระราชทานไปแล้วกลับทอดพระเนตรเห็นยศและอำนาจของพระราชโอรสนั้น แล้วเกิดความระแวงว่า พระราชโอรสจะพึงยึดแม้ราชสมบัติของตน จึงรับสั่งให้เรียกพระราชโอรสนั้นมาแล้วตรัสว่า “ดูก่อนพ่อ เธอไม่อาจจะอยู่ในที่นี้ เธอจงออกไปจากที่นี้ แล้วไปอยู่ในที่ ที่เธอชอบใจ โดยล่วงไปแห่งเรา เธอจงยึดเอาราชสมบัติอันเป็นของแห่งตระกูล” (หมายถึงให้ไปหาทำเลที่ชอบ ต่อเมื่อตนเองสิ้นแล้วจึงค่อยกลับมาเอาราชสมบัติภายหน้า) พระราชโอรสทรงรับพระดำรัส จึงกราบลาพระราชบิดา แล้วเสด็จออกจากนคร ไปหยุดที่ริมแม่น้ำยมุนา อันเป็นที่ตั้งของแม่น้ำ ทะเล และภูเขา จึงสร้างบรรณศาลา (ที่พัก) ไว้ที่แห่งนั้น มีรากไม้และผลไม้เป็นอาหารอันอุดม ครั้งนั้น นางนาคหม้ายมาณวิกา (นาคสาวที่สามีตาย) ในพิภพนาคฝั่งมหาสมุทร เห็นผู้อื่นมีสามีจึงคิดอิจฉา จิตใจเกิดกิเลสความอยากมีอยากได้ขึ้นมาบ้าง จึงขึ้นมาริมฝั่งแล้วพบรอยเท้าของพระราชโอรส เมื่อเดินตามรอยเท้าไปพบเห็นบ

พระคาถาลงดาบฟ้าฟื้น และตำราตีดาบฟ้าฟื้นโบราณ

นิทานเรื่องขุนช้างขุนแผน จัดเป็นวรรณกรรมอมตะอีกเรื่องหนึ่งของไทยเลยก็ว่าได้ เพราะถูกเล่าขานกันมานับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา นักขับเสภามักจะชอบลำนำกลอนโบราณ ขับกันมาเรื่อยจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ก็เห็นจะขาดหายไปเสียหลายตอน ก็มีการพระราชนิพนธ์ และประพันธ์เพิ่มเติมจากพระเจ้าอยู่หัวและกวีชื่อดังอีกมากมาย อาทิเช่น

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงโปรดให้เหล่ากวีในพระราชสำนักแต่งขึ้นใหม่จากเค้าโครงเรื่องเดิม รวมทั้งพระองค์ท่านเองทรงพระราชนิพนธ์ ตอน "พลายแก้วเป็นชู้กับนางพิม" ตอน "ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง" และตอน "เข้าห้องแก้วกิริยาและพาวันทองหนี"

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชนิพนธ์ตอน "ขุนช้างตามวันทอง"

บรมครูสุนทรภู่ประพันธ์ตอนที่ชื่อว่า "กำเนิดพลายงาม"

ครูแจ้ง วัดระฆัง ครูกวี 5 แผ่นดิน แต่งตอน "กำเนิดกุมารทอง" ตอน "ขุนแผน พลายงามแก้พระท้ายน้ำ" และตอน "ขุนแผน พลายงามสะกดเจ้าเมืองเชียงใหม่"

ดาบโบราณ บ้านม้าท่าน้ำ

(ภาพประกอบ : ตีดาบโบราณ บ้านม้าท่าน้ำ จ.ลำปาง)
----------------------------------------------------------------------------------------------
จริงแล้วเรื่องราวของขุนช้างขุนแผน ถูกวรรณกรรมขึ้นจากเค้าโครงเรื่องจริง ตามหนังสือคำให้การกรุงเก่า ว่าครั้งสมัยพระพันวษา กษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึงสงครามกับนครเชียงใหม่ อันมีเหตุมาจากพระเจ้าโพธิสารราชกุมาร เจ้าเมืองเชียงใหม่ ไม่ชอบที่พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตลานช้าง ทรงผูกสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา จึงยกทัพมาแย่งชิงพระธิดาแห่งลานช้างไป เมื่อพระพันวษาทราบข่าว จึงเกิดความพิโรธ และได้มีราชโองการสั่งให้เตรียมทัพและตรัสกับพระหมื่นศรีมหาดเล็ก ให้เลือกทหารที่มีฝีมือมารบ ซึ่งในบัดนั้นผู้ที่จะเก่งกล้าเกินกว่าขุนแผนนั้นไม่มี แต่พระหมื่นศรีมหาดเล็กทูลพระพันวษาว่า ขุนแผนยังอยู่ในคุก พระพันวษาก็ทรงระลึกได้ถึงขุนแผนที่ถูกจองจำอยู่ในคุก จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ขุนแผนพ้นโทษโดยเร็ว และแต่งตั้งขุนแผนเป็นแม่ทัพออกรบ ก่อนที่ขุนแผนจะออกรบได้แวะที่เมืองพิจิตร เพื่อรับดาบและม้าวิเศษประจำตัวขุนแผน (ดาบฟ้าฟื้นและม้าสีหมอก) ที่ฝากไว้กับพระพิจิตร และขุนแผนก็สามารถตีกองทัพเชียงใหม่จนแตกพ่าย

ในคำให้การชาวกรุงเก่า มีเรื่องขุนช้างขุนแผนปรากฏอยู่แต่เพียงเท่านี้ ซึ่งแน่นอนว่า ย่อมไม่ตรงกับเรื่องขุนช้างขุนแผนที่มีการขับเสภา เพราะเรื่องนี้นำมาเล่าเป็นนิทานนานมาแล้วและยังแต่งเป็นกลอนเสภาอีก ดังการพระราชนิพนธ์ และการประพันธ์ดังกล่าวข้างต้น

ในคําภีร์มหาศาสตราคม มีการบันทึกเรื่องของการตีดาบฟ้าฟื้น ซึ่งต้องมีการรวบรวมวัตถุอาถรรพ์ให้ครบถ้วน ประกอบด้วย

๑. เหล็กยอดพระเจดีย์มหาธาตุ
๒. เหล็กยอดปราสาททวารา
๓. เหล็กขนันผีพรายตายทั้งกลม
๔. เหล็กตรึงโลงตรึงปั้นลมสลักเพชร
๕. หอกสำฤทธิ์กริชทองแดงพระแสงหัก
๖. เหล็กปฏักสลักประตูตาปูเห็ด
๗. เหล็กเบญจพรรณกัลเม็ด
๘. เหล็กบ้านพร้อมเสร็จทุกสิ่งแท้
๙. เหล็กไหลเหล็กหล่อบ่อพระแสง
๑๐. เหล็กกำแพงน้ำพี้ทั้งเหล็กแร่
๑๑. ทองคำ
๑๒. สำฤทธิ์
๑๓. นากอะแจ
๑๔. เงินที่แท้
๑๕. ธาตุเหล็กทองแดง
๑๖. เหล็กสารพัดบิ่น สารพัดหักอีก ๑๐๘ ชนิด

เมื่อได้เหล็กมาพร้อมแล้ว ท่านให้ตั้งมณฑลพิธีล้อมด้วยราชวัฏจตุรฉัตร (การปักธง 4 มุม) ตรงกลางตั้งพิธีดาดด้วยผ้าขาว และต้องจารยันต์เพดานทั้งหน้าหลัง แล้วหาเครื่องกระยาสังเวย สําหรับบูชาเทพยดาอารักษ์และครูบาอาจารย์ ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา อันประกอบด้วย

๑. มัจฉะมังษาหาร ๖ ประการ
๒. เครื่องกระยาบวช ขนมแห้ง ขนมหวาน
๓. ผลไม้ ๙ อย่าง
๔. เทียนเงินเทียนทองหนัก ๔ บาท ๑ คู่

พิธีจะต้องประกอบในวันเสาร์ขึ้น 15 คํา จึงบูชาครูบาอาจารย์และเทพยดาฟ้าดิน และเริ่มพิธีตีดาบ ดังคำกวีโบราณที่ว่า "เอาสูบทั่งตั้งไว้ในพิธี เอาถ่านที่ต้องย่างวางในนั้น ช่างเหล็กมีฝีมือลือทั้งกรุง ผ้าขาวนุ่งผ้าขาวห่มดูคมสัน วงสายสิญจ์เศกลงเลขยันต์ คนสําคัญคอยดูซึ่งฤกษ์ดี ครั้นได้พิชัยฤกษ์ราชฤทธิ์ พระอาทิตย์เที่ยงฤกษ์ราชสีห์ ขุนแผนสูบเหล็กให้แดงดี นายช่างตีรีดรูปให้เรียวปลาย ที่ตรงกลางกว้างงามสามนิ้วกึ่ง ยาวหนึ่งศอกกํามาหน้าลูกไก่ เผาชุบสามแดงแทงตะไบ บัดเดี๋ยวใจเกลี้ยงพลันเป็นมันยับ"
ว่าเคล็ดวิชาอัญเชิญสิทธิการิยะ ด้วยโองการนี้ 

นะโมนมัสการพระอิศวรนารายผู้เป็นเจ้าเท้าจะเสด็จลงมาตั้งฟ้าตั้งดิน ตั้งพระอินทร์ ตั้งพระพรหมตั้งพระยมตั้งพระกาฬ เธอจึงให้ตัวกูผลาญต้นไม้อันมีผี ตั้งพิธีเบิกโขนเบิกทวารบานประตู ขุดคูขุดบ่อท่อถางทางขุดบางขุดสระแกะรูปพระสลักหนังฝังผีพลายและตายโหงตั้งต่อโลงและโกฏผา ทำศาลาและมณฑบ ทำพนมศพและพนมเมรุฯ

แล้วลงกั่นดาบข้างแบน ด้วยพระคาถาบารมีพระพุทธเจ้า"

อายันตุโภนโต อิธะทานะ สีละเนกขัมมะ ปัญญา สะหะวิริยะขันติ สัจจาธิฎฐานะเมตตุเปกขา ยุทธายะโว คัณหะถะอาวุธานิ

"ลงกั่นดาบด้านสัน ด้วยพระคาถาหัวใจพระยาสมาส"

นานามุสะระ หะระ บัพพะตะคะรุ กะลิงคะระ สะระธนู คะทาสิโต มาระหัตถา มาระคะนา

เอาทองแดงที่ใช้สําหรับห่อหุ้มกั่นดาบมาลงถมด้วยพระคาถานวหรคุณ ๑๐๘ คาบ ว่า

อะสังวิสุโลปุสะพุภะ

(ปล. ๑ คาบ คือ 1 ลมหายใจ)
แล้วลงถมด้วยพระคาถาต่าง ๆ อีก ประกอบด้วย

พระคาถาพุทธนิมิตร์ ลงถม ๙ คาบ

พุทธัสสะ อิธิพุทธัสสะ พุทธะนิมิตตัง ปฏิมานะพุทโธ ธาตุพุทโธ นิมิตตะพุทโธ กายะพุทโธ สูญญะพุทโธ เอคะตานัง กายะรูปะสูญยัง พุทธะนิมิตตัง อิทธิฤทธิ์พุทธะ นิมิตตังลงถมอีก9ครั้งด้วยคาถา อะสิสัตติ ธนูเจวะ สัพเพเตอาวุทธานิจะ ภัคคะภัคคา วิจุณณานิ โลมังมาเมนะผุสสันติ

ตามด้วยพระคาถาพรหมสี่หน้า ลงถมอีก ๙ คาบ

สหัสสะสีเส ปิเจโปโส สีเสสีเส สะตังมุกขา มุกเข มุกเข สะตังชิวหา ชีวะกัปโป มหิทธิโก นะสักโกติ จะวัณเณตุง

ตามด้วยพระคาถาบารมี 30 ทัศน์ ลงถมอีก ๙ คาบ

อิติปารมิตาติงสา อิติสัพพัญญูมาคะตา อิติโพธิมนุปปัตโต อิติปิโสจะเตนะโม

ตามด้วยพระคาถามงกุฏพระพุทธเจ้า ลงถมอีก ๙ คาบ

อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนาพุทธะตังโสอิอิโสตังพุทธะปิติอิ

ตามด้วยพระคาถาอรหันต์ ๘ ทิศ ลมถมอีก ๙ คาบ

อิระชาคะตะระสา ติหังจะโตโรถินัง ปิสัมระโลปุสัตพุท โสมาณะกะริถาโธ ภะสัมสัมวิสะเทภะ คะพุทปันทูทัมวะคะ วาโธโนอะมะมะวา อะวิสุนุสานุติ

ตามด้วยพระคาถาป้องกัน ลงถมอีก ๙ คาบ

พุทธังกันตัง ธัมมังกันตัง สังฆังกันตัง พุทธังสิทธิ ธัมมังสิทธิ สังฆังสิทธิ

ตามด้วยการลงถมพระคาถาปลุกเสกศาสตราวุธโบราณ ดังต่อไปนี้

นะผุด ผัดผิด ปฏิเสวามิ ๙ คาบ

ต่อไปเป็นการประทับคาถา

สัตถาธะนุง อากัตถิตุง ทัตวา วิสัชเชตุง นาทาสิ

ลงประทับจบ 1 คาบ ให้ผ่อนลมหายใจออกให้สุด

กัณหะเนหะ

ลงประทับ 1 คาบ แล้วหายใจเข้าให้ลึกถึงท้องน้อย

พุทธังปัจจุขาด

ลงประทับ 1 คาบ แล้วหายใจออกให้สุด

ธัมมังปัจจุขาด

ลงประทับ 1 คาบ แล้วหายเข้าใจลึกถึงท้องน้อย

สังฆังปัจจุขาด

ลงประทับ 1 คาบ แล้วหายใจออกให้สุด

หลังจากนั้น คือการประทับพระคาถาบนแผ่นทองแดงด้านหลัง ว่า

อะระหัง สุคะโต ภะคะวา ลงประทับ ๙ ครั้ง

แล้วตามด้วย

นะโมพุทธายะ อิติปาระมิตาติงสา โนวะปะตานุภาเวนะ มาระเสนา อะติกกันตา มาระนิทรา ทัสสะปาระมิตา ทะมาระนิทรา ปาระชังฆานิทรา ทัสสะปาระมิตา โลหะกันตา นามะเตนะโม มาตาปิตุพุทธะคุณัง สัพพะสัตรูวิธังเสนตุ อะเสสะโต เอวังทัสสะวัณโณ ปฏิฐิตัง จักรวาฬะ สัพพะสัตตานุภาเวนะ มาราโมระอะติกกันตา ทัสสะพรหมมานุภาเวนะ สัพพะสัตรูวินาสสันติ (๑ คาบ ตรงนี้คงต้องฝึกการผ่อนลมหายใจสักหน่อยนะฮะ)

เมื่อลงทองแดงห่อกั่นดาบแล้ว จึงเอาเกษร ๑๐๘ และยามุกใหญ่มาบดให้ละเอียด เพื่อบรรจุในด้าม (ยามุกใหญ่คือยาสารพัดชนิด) ซึ่งหินที่ใช้บดยานั้นลง ต้องด้วย

พระคาถามหาโสฬสมงคล (๙ คาบ)

โสฬะสะมังคะลัญเจวะ นะวะโลกุตตะระธัมมะตา จัตตาโรจะมหาทีปา
ปัญจะพุทธามหามุนี ตรีปิฏะกะธัมมักขันธา ฉะกามาวะจะราตะถา
ปัญจะทัสสะกะเวสัจจัง ทะสะมังสีละเมวะจะ เตรัสสะธุตังคาจะ
ปาฎิหารัญจะทะวาทัสสะ เอกะเมรุจะ สุราอัฎฐะ ทะเวจันทังสุริยังสัคคา
สัตตะโพชฌังคาเจวะ จุททัสสะจักกะวัตติจะ เอกาทะสะวิษณุราชา
สัพเพเทวา สะมาคะตา มังรักขันตุ ปาละยันตุ สัพพะทาเอเตนะ
มังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เมฯ


ตามด้วยคาถาหัวใจพระธรรมเจ็ดคําภีร์อีก ๙ คาบ

สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ

พระคาถาพรหมสี่หน้า ๙ คาบ

สหัสสะสีเส ปิเจโปโส สีเสสีเส สะตังมุกขา มุกเข มุกเข สะตังชิวหา ชีวะกัปโป มหิทธิโก นะสักโกติ จะวัณเณตุง

พระคาถาพุทธนิมิตร์ ๙ คาบ

พุทธัสสะ อิธิพุทธัสสะ พุทธะนิมิตตัง ปฏิมานะพุทโธ ธาตุพุทโธ นิมิตตะพุทโธ กายะพุทโธ สูญญะพุทโธ เอคะตานัง กายะรูปะสูญยัง พุทธะนิมิตตัง อิทธิฤทธิ์พุทธะ นิมิตตังลงถมอีก9ครั้งด้วยคาถา อะสิสัตติ ธนูเจวะ สัพเพเตอาวุทธานิจะ ภัคคะภัคคา วิจุณณานิ โลมังมาเมนะผุสสันติ

พระคาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์ ๙ คาบ

นะมะนาอะ นอกอนะกะ ออกะนอกะ นะอะกะอัง นะอังมะกะ นะอะอะนะ นออะกอนอ นะออกะกะ นะกะอังกะ นะออกะนะ นะนออะกอ อะอะนะนอ นะกอกอนะ อะอะกะอะ อะกออออะ กะนอนะนะ

พระคาถาอะระหันต์ ๘ ทิศ ๙ จบ

สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคะเณยเย จะ กัสสะโป สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปาลี จะปัจฉิเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ ควัมปะติ โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อิสาเณปิ จะ ราหุโล อิเม โข มังคลาพุทธา สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา วันทิตา เต จะ อัมเหหิ สักกาเรหิ จะ ปูชิตา เอเตสัง อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ โน อิจเจวะมัจจัน ตะนะมัสสะเนยยัง นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย ฯ

พระคาถาบารมี 30 ทัศน์ ๙ คาบ

อิติปารมิตาติงสา อิติสัพพัญญูมาคะตา อิติโพธิมนุปปัตโต อิติปิโสจะเตนะโม

ตามด้วยพระคาถามงกุฏพระพุทธเจ้า ลงถมอีก ๙ คาบ

อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนาพุทธะตังโสอิอิโสตังพุทธะปิติอิ

พระคาถาหัวใจสนธิ ๙ คาบ

งะญะนะมะ

พระคาถาพระกรณีย์ ๙ คาบ

จะภะกะสะ

ขณะบดยาให้ภาวนาพระคาถานี้ จนกว่าจะบดยาเสร็จ

งะญะนะมะ จะภะกะสะ อะระหังสุคะโตภะคะวา นะมะพะทะ อิกะวิติ อิสวาสุ นะโมพุทธายะ อะสังวิสุโลปุสะพุภะ ปะติลิยะติ พุทธังสิทธิ ธัมมังสิทธิ สังฆังสิทธิ

ด้ามมีดให้ใช้ไม้ ชัยพฤกษ์ แกะเป็นรูปท้าวเวสสุวรรณ หลังจากนั้นเขียนคาถาเป็นตัวเลข ลงที่องค์ท้าวเวสสุวรรณ

ลงเลข ๓ (ตรีนิสิงเห) ที่ปากท้าวเวสสุวรรณ ว่าด้วยสูตรคือ

มะอะอุตรีนิสิงเห

ลงเลข ๗ ที่ตาทั้งสองของท่านว่าสูตรคือ

สะธะวิปิปะสะอุสัตตะนาเค

ลงเลข ๕ ที่อกของท่านว่า

อาปามะจุปะปัญจะเพชรฉลูกัญเจวะ

ลงเลข ๔ ที่หัวไหล่ทั้งสองของท่านว่า

นะมะพะทะจัตตุเทวา

ลงเลข ๖ ที่ขาทั้งสองของท่านว่า

อิสวาสุฉอวัชชะราชา

ลงเลข ๕ ที่ด้านหลังท่านว่า

ทีมะสังอังขุปัญจะ อินทรานะเมวะจะ

ลงเลข ๑ ที่ตาตุ่มทั้งสองข้างว่า

มิเอกะยักขา

ลงเลข ๙ ที่ศรีษะท่านว่า

อะสังวิสุโลปุสะพุภะนะวะเทวา

ลงเลข ๕ ที่แขนซ้ายของท่านว่า

สหะชะตะตรีปัญจะพรหมาสะหะบดี

ลงเลข ๕ ที่แขนขวาของท่านว่า

นะโมพุทธายะ ปัญจะพุทธานะมามิหัง

ลงเลข ๒ ที่ศอกทั้งสองข้างว่า

พุทโธทะเวราชา

ลงเลข ๘ ที่สะโพกทั้งสองข้างว่า

เสพุเสวะเสตะอะเส อัฏฐะอะระหันตา

ใช้พระคาถาท้าวเวสสุวรรณลงด้ามมีดให้ทั่วว่า

เวสสุวรรโณมหาราชา สัพเพเทวาเสเจวะ อาฬะวะกาทะโย ปิจะขัคคัง ตาละปัตตัง ทิสวา สัพเพยักขา ปะลายันติ เวสสุวรรโณมหาราชา จัตตุโลกะปาลายัสสะสิโน อิติภูตา มหาภูตา สัพเพยักขาปะลายันติ

ลงกระบองท้าวเวสสุวรรณด้วย

นะโมพุทธายะ

สิทธิการิยะ ผู้ใดได้มีวาสนามีศาสตราวุธเล่มนี้แล้ว จะประเสริฐทุกประการ ปราบปรามศัตรูและภูติผีปิศาจได้ทุกชนิด แม้เข้าผจญสงครามก็ได้ชัยชนะต่อข้าศึก ใช้สะกดคนเป็นมหาจังงังอย่างแท้จริง ติดตัวไว้สารพัดคงกะพันชาตรีจากอาวุธทั้งปวง เรียกได้ว่าเป็นมีดมหาปราบ

อนึ่งยาที่เหลือจากการบรรจุด้ามมีดนั้น เอามาผสมกับรักปั้นเป็นองค์พระภควัมบดีหรือพระปิดตา พกไว้ติดตัวเป็นมงคลอย่างประเสริฐ อนึ่งตํารามีดมหาศาสตราคมนี้เป็นของจริง ผู้ที่จะสร้างต้องเป็นสาธุชนคนดี จึงจะมีความเจริญ ถ้าเป็นมิจฉาชนคนชั่วแล้วก็ไม่จักเกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น โบราญจารย์ผู้เป็นเจ้าของตํารานี้ได้สาปแช่งไว้อย่างรุนแรงถ้าผู้มีมีดนี้ทําชั่ว ข้าพเจ้าขอลงไว้เป็นวิทยาทานแก่ชนรุ่นหลัง

เวลาจะเรียกใช้ดาบฟ้าฟื้น ให้ว่าพระคาถานี้

นะโมพุทธายะ นะโมพุทธายะ นะโมพุทธายะ โอมมหาวินากัสสะ รัสสะปูชิโต สวาหะ โอมเชยยะ เชยยะ ปราเชยยะ ปราเชยยะ อะหัง มหาเพชรศัตรู ยะยังสัพพะลาภัง สวาหะ โอมนะรายะ เทวสังสิฤทธิ์ เดชะ ชัยยังกะโร โหติ ริทิ ริทิ หะตะราจะ มหามันตะระ มุวาส สะวาอิเมฯ

ความคิดเห็น

พระคาถาน่าสนใจศึกษา

บอกบุญ "ซื้อที่ดินถวายวัด" อานิสงส์แรงกล้า ศรัทธาร่วมใจ สร้างปูชนียสถาน ณ วัดแม่ไฮ จ.ลำปาง

พระคาถามหาเศรษฐี (ต้นฉบับตามพระคัมภีร์ คาถา ๑๐๘ พิสดาร)

พระคาถาบูชาพระนายรายณ์ทรงสุบรรณ

บทแผ่เมตตา และอุทิศส่วนกุศล